บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิสัยทัศน์การศึกษาของสิงคโปร์

วิสัยทัศน์การศึกษาของสิงคโปร์

คณะผู้นำสิงคโปร์มีความเชื่อว่า  ประเทศใดจะเจริญหรือแย่  ขึ้นอยู่กับการเตรียมทรัพยากรบุคคล  การเตรียมทรัพยากรชั้นยอดก็คือ  การให้การศึกษาชั้นเยี่ยม
วันหนึ่ง  สิงคโปร์ต้องการทราบประสิทธิภาพของการศึกษาของชาติต่างๆในทวีปเอเชีย  ก็จ้างบริษัทวิจัยของสิงคโปร์ที่ชื่อว่า  สทะที’  จิค  อินเทล’  ลิจันซ์  หรือข่าวกรองยุทธศาสตร์  ทำงานวิจัยความก้าวหน้าล้าหลังทางการศึกษาชิ้นนี้เดือนตุลาคมของปีที่แล้ว (พ.ศ.2544)  ก็ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการศึกษาไทยว่า...
อีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2554) การศึกษาไทยจะล้าหลังบรรดาประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย  เพราะระบบการศึกษาไทยไม่ได้เตรียมความพร้อมของประชาชนไว้สำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ใช้ความรู้เป็นฐาน  ระบบการศึกษาไทยยังใช้วิธีการท่องจำ  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  และบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ระบบการศึกษาไทยล้าหลังเพราะถูกควบคุมเข้มงวดโดยรัฐบาลและระบบราชการ  แม้จะมีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ใช้บังคับมาตั้งแต่  ..2542  แล้วก็ตาม
เรื่องการสอนให้คนคิดเป็นนี่  ทางสิงคโปร์ให้ความสำคัญมากครับ  รัฐบาลถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด  ถึงขนาดประกาศวิสัยทัศน์ 
โรงเรียนแห่งการคิดเป็น  ชาติแห่งการเรียนรู้”  เมื่อ  ..2540
สิงคโปร์มีพลเมืองไม่มาก  นักเรียนก็มีไม่เยอะเหมือนบ้านเรา  โอกาสจะคัดช้างเผือกโดยธรรมชาติจึงไม่มีเหมือนชาติที่มีพลเมืองมากๆ  ดังนั้น  นโยบายของรัฐบาลก็คือ  ให้การศึกษาอย่างดีที่สุดแก่เยาวชนทุกคน
สิงคโปร์มีนักเรียนชั้นประถมประมาณ  3  แสน  มัธยม  2  แสน  คนไหนที่มีศักยภาพปานกลางก็ให้เรียนวิทยาลัยเทคนิค  ซึ่งวันนี้มีประมาณ  2.5  หมื่น  หรือโปลีเทคนิคที่มีประมาณ  5.5  หมื่น  ใครที่ฉลาดจริงๆ  จึงจะได้เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ  ซึ่งทั้งประเทศมี  3  แห่ง  มีนักศึกษารวมกันประมาณ  4  หมื่น
ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของเยาวชนคนสิงคโปร์ที่รัฐบาลตั้งเป็นเป้าหมาย  เขียนไว้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรเลย  มีดังนี้
คนสิงคโปร์ในฐานะปัจเจกบุคคลและพลเมือง...การศึกษามีหน้าที่  2  อย่าง  คือ 
1. พัฒนาคนแต่ละคน  และ  2. ให้การศึกษาแก่พลเมืองของประเทศ
การศึกษาคือการพัฒนาคนให้สมบูรณ์...หมายถึงการพัฒนาเด็กด้านคุณธรรม  สติปัญญา  ร่างกาย  สังคม  และสุนทรียศาสตร์...เด็กของเราจะต้องเรียนรู้และรู้จักที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น  ทั้งผู้ที่อาวุโสกว่า  เพื่อน  คนทั่วไป  ทั้งที่มีความเหมือนและความต่างกัน
การศึกษา  (ที่ประเทศสิงคโปร์ของเราจะให้จะสอนให้เด็กรู้จักดูแลสุขภาพชีวิต  และสอนให้ซาบซึ้งในความดีงามของชีวิต  และสิ่งต่างๆที่แวดล้อมอยู่รอบตัว
คนที่มีการศึกษาคือผู้ที่รับผิดชอบต่อตัวเอง  ครอบครัว  และเพื่อน
นอกจากนี้  เราทุกคนต้องมองออกไปนอกตัวเอง  มองไปที่ครอบครัว  เพื่อน  สังคม  และประเทศชาติ  สังคมทำให้เรารู้สึกถึงความมีเอกลักษณ์และจุดประสงค์  รู้สึกมีความมั่นคง  ปลอดภัย  และความมั่นใจ
ในทำนองเดียวกัน  เราต้องสอนให้เด็กมีพันธกิจและมีความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วย  เพราะฉะนั้น  โรงเรียนจะต้องสอนให้เด็กมองว่า  สิงคโปร์คือบ้าน  บ้านที่เราอยู่อาศัย  บ้านที่เราต้องปรับปรุงและป้องกัน
ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของเยาวชนคนสิงคโปร์ที่รัฐบาลตั้งเป็นเป้าหมาย  เขียนไว้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรเลย  มีดังนี้
คนสิงคโปร์  ในฐานะปัจเจกบุคคลและพลเมือง...การศึกษามีหน้าที่  2  อย่าง  คือ  1. พัฒนาคนแต่ละคน  และ  2. ให้การศึกษาแก่พลเมืองของประเทศ
คนมีการศึกษาต้องรับผิดชอบต่อชุมชนและชาติด้วย
บทบาทของเราทั้ง  2  อย่าง  ต่างเสริมและเติมซึ่งกันและกัน  สิ่งที่เรา  (รัฐบาลสิงคโปร์พัฒนาในตัวเด็ก  จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราอยากให้มีในประชากรของเราทุกคน
ผลลัพธ์เพื่ออะไร...
การรู้ผลลัพธ์ที่แน่ชัด  จะช่วยให้เราประเมินได้ว่า  ระบบการศึกษาของเรามีประสิทธิภาพเพียงไร  ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าเราทำอะไร  หรือทำได้มากเท่าไร  แต่อยู่ที่ว่าสิ่งที่เราทำไปทั้งหมดนั้นได้บรรลุผลที่ต้องการหรือไม่  เราจึงต้องมีการประเมินผล
ผลลัพธ์ขั้นสูงของการศึกษา...
สิ่งที่เรา  (รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการจากเด็กของเราเมื่อจบการศึกษาและเมื่อต้องเป็นผู้นำประเทศ  ชุมชน  ผู้นำทางธุรกิจ  หรือผู้นำทางวิชาชีพ  มีดังต่อไปนี้
ระดับหลังมัธยมศึกษา  และอุดมศึกษา  เด็กของสิงคโปร์ทุกคนควร...
มีคุณธรรม  มีวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต  เข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมอื่น  รับผิดชอบต่อครอบครัว  ชุมชนและประเทศ...เชื่อในหลักการความเป็นประเทศที่มีหลายเชื้อชาติและมีระบบคุณธรรม...รู้ข้อจำกัดของสิงคโปร์  แต่ก็มองเห็นโอกาส
รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ดีงาม...เต็มใจที่จะพัฒนาเพื่อความสำเร็จ  ภูมิใจในงาน  รักการทำงานร่วมกับผู้อื่น...มีความสามารถในการคิด  ใช้เหตุผล  และเผชิญกับอนาคตอย่างมั่นใจ  ด้วยความกล้าหาญ  และความเชื่อมั่นเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรค
สามารถแสวงหา  สร้างสรรค์และประยุกต์ใช้ความรู้...มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์...มุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต  มุ่งความสำเร็จในสิ่งที่ทำ...มีความคิดกว้างไกลระดับสากล  แต่ยึดมั่นในพื้นฐานความเป็นสิงคโปร์
เมื่อจบชั้นประถมศึกษา  นักเรียนสิงคโปร์ควร...
จำแนกความถูกผิดได้...เรียนรู้ที่จะแบ่งปันและให้ความสำคัญกับคนอื่น...สร้างมิตรภาพกับคนอื่นได้...อยากรู้อยากเห็น...คิดด้วยตัวเอง  และแสดงออกได้...มีความภูมิใจในงาน...ปลูกฝังให้มีลักษณะสุขนิสัยที่ดี...มีความรักในประเทศสิงคโปร์
เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษา  นักเรียนสิงคโปร์ควร...
มีคุณธรรม...มีความห่วงใยอาทรผู้อื่น...ทำงานเป็นกลุ่มและทำเพื่อกลุ่มได้...ตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ...มีพื้นฐานที่ดีสำหรับการศึกษาต่อเนื่อง...มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง...มีความซาบซึ้งในสุนทรียศาสตร์...รู้จักและเชื่อมั่นในประเทศสิงคโปร์
เมื่อจบวิทยาลัย  นักศึกษาสิงคโปร์ควร...
ปรับตัวได้เร็วและตั้งใจแน่วแน่...มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม...เข้าใจวิธีที่จะกระตุ้นและจูงใจผู้อื่น...มีสำนึกที่จะประกอบการอิสระและริเริ่มสร้างสรรค์...คิดอย่างอิสระและสร้างสรรค์...มุ่งความเป็นเลิศ...มีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า...เข้าใจปัจจัยที่จะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของสิงคโปร์     ยอดมนุษย์อย่างนี้นี่ละครับที่สิงคโปร์ต้องการให้เป็นพลเมืองของประเทศและสร้างได้  โดยผ่านระบบการศึกษาที่ถูกต้องครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เด็กหญิง อิมติซาล ราโอบ

สวัสดีคะ หนูชื่อเด็กหญิง อิมติซาล ราโอบ
ตอนนี้หนูมีอายุ13 เดือนแล้วคะ แต่ตัวหนูยังไม่โตเท่าใหร่นะคะ หนูชอบทานอาหารที่ไม่มัน
ไม่ทานกระทิ ไม่ทานสิ่งที่จะทำให้หนูอ้วนคะ เลยทำให้หนูผอมเหมือนที่เห็นนี่แหละคะ ตอนนี้อาบี และอุมมีของหนู เรียนปริญญาโทกันทั้งสองคนคะ หนูอยากให้เขาทั้งสองเรียนจบเร็วๆคะ จะได้พาหนูไปเที่ยวบ้างคะ
อนาคตหนูอยากเก่งเหมือนอาบีและอุมมีคะ และจะเรียนให้สูงกว่าท่านทั้งสองด้วย และที่สำคัญหนูจะเป็นเด็กดีที่เชื่อฟังพ่อแม่และที่สำคัญที่สุด หนูจะเป็นเด็กดีของอัลลอฮ์คะ
สวัสดีคะ

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการในการฝึกอบรม

กระบวนการในการฝึกอบรม

กระบวนการในการฝึกอบรม นั้นเป็นขั้นตอนที่มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การฝึกอบรมนั้นมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการในการฝึกอบรมนั้นมีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ทรรศนะไว้ดังนี้
พัฒนา สุขประเสริฐ (2540:27) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรมเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยจะต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องเพื่อให้การฝึกอบรมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่บุคคล งาน และหน่วยงานมากที่สุดเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานและนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและละเอียดยิ่งขึ้น จะขอกล่าวถึงกิจกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดฝึกอบรมหรือกระบวนการฝึกอบรมทั้ง 6 ขั้น คือ
1 การสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม
2 การจัดหลักสูตรฝึกอบรม
3 การวางแผนโครงการฝึกอบรม
4 การดำเนินงานฝึกอบรม
5 การประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม
6 การจัดทำรายงานสรุปผล
7 เลือกอุปกรณ์การฝึกอบรม
8 ดำเนินการฝึกอบรม
9 ประเมินผลและติดตามผลสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการฝึกอบรมบุคคลเป็นงานของผู้บริหารทุกระดับชั้น ซึ่งความจริงแล้วหน้าที่การสอนงานหรือฝึกอบรมนั้นผู้บริหารต้องทำอยู่แล้ว แต่ขาดระบบและวิธีการที่เป็น
ทางการ อีกทั้งผู้บริหารก็มีภาระหน้าที่อื่นๆ มากมาย จึงต้องอาศัยผู้ชำนาญพิเศษด้านการฝึกอบรมเข้ามช่วยเหลืองานด้านการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ชำนาญพิเศษเพื่อดำเนินงานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร

ความหมายของการฝึกอบรม

ความหมายของการฝึกอบรม

การฝึกอบรมเป็นกระบวนการที่ทำการพัฒนาให้บุคคลมีความสามารถเพิ่มขึ้นโดยทุกสาขาวิชา ได้มีการนำกระบวนการฝึกอบรมไปปฏิบัติโดยมีนักวิชาการสาขา ได้ให้ความหมายของการฝึกอบรมไว้ตามทัศนะของแต่ละท่านดังนี้
 สมเกียรติ พ่วงรอด (2544:132) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรมเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไปทัง้ ในปจั จุบันและในอนาคต
สมชาติ กิจยรรยง (2545:15) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการการที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ (Knowledge) เกิดความเข้าใจ (Understanding) เกิดความชำนาญ (Skill) และเกิดเจตคติ (Attitude) ที่ดีเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกระทัง่ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ
พัฒนา สุขประเสริฐ (2540:4) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการสำคัญที่จะช่วยพัฒนาหรือฝึกฝนเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรใหม่ที่จะเข้าทำงานหรือที่ปฏิบัติงานประจำอยู่แล้วในหน่วยงาน ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะหรือความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์ให้เหมาะสมกับการทำงาน รวมถึงก่อให้เกิดความรู้สึก เช่น ทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้บุคคลากรแต่ละคนในหน่วยงานหรือองค์การมีความสามารถเฉพาะตัวสูงขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
 สมคิด บางโม (2540:4) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรม (training) หมายถึงกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลโดยมุ่งเพิ่มพูนความรู้ (knowledge) ทักษะ(skills) และทัศนคติ (attitude) อันจะนำไปสู่การยกมาตราฐานการทำงานให้สูงขึ้น ทำให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและองค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นจะเห็นว่าการฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคคลนัน่ เอง
เสนาะ ติเยาว์ (2543:95) ได้กล่าวว่า การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อให้บุคคลได้เรียนรู้และมีความชำนาญเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง โดยมุ่งให้คนได้รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไปในทางที่ต้องการ ตามความหมายดังกล่าวการฝึกอบรมเป็นทางทำให้ผู้รับการอบรมได้รับความรู้ใหม่ๆ ได้ความชำนาญในการปฏิบัติงานมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปญั หาและทัศนคติที่จะปรับปรุงงาน เปลี่ยนแปลงงานให้ดีขึ้นตามแนวทางที่องค์การกำหนด

หลักสูตรการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรม
หลักสูตรการฝึกอบรมเป็นขั้นตอนที่ได้จากการวิเคราะห์ในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วนำมาจัดทำเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อที่จะปรับเปลี่ยนทำให้ปัญหานั้น ๆ ลดน้อยลงโดยมีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้หลักเกณฑ์ทรรศนะไว้ดังนี้
            พัฒนา สุขประเสริฐ (2540:35) ได้กล่าวว่า หลักสูตรการฝึกอบรม หมายถึงความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการของโครงการ ส่วนที่สำคัญของหลักสูตรที่จะต้องพิจารณาได้แก่วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เนื้อหาสารถที่จัดและควรระบุเป็นรายหัวข้อวิชาและระบุกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึงการใช้สื่อในการเรียนการสอนและการประเมินผล
            พัฒนา สุขประเสริฐ (2540:36) ได้ให้ทรรศนะของการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมว่า การจัดหลักสูตรนั้นจะต้องให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการในการฝึกอบรม ซึ่งควรจะได้พิจารณาดังนี้คือ
1  เป็นวิชาที่ตอบสนองหรือแก้ปญั หาตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือแก้ของหน่วยงาน
2 วิชาที่ระบุในหลักสูตร ควรกำหนดวัตถุประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษร มีรายละเอียดหรือสาระสำคัญของวิชา เพื่อให้การดำเนินงานหรือการสอนของวิทยากร ตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้จัดการฝึกอบรม
3 พิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสมแก่ความจำเป็นเวลาที่จะอำนวยประโยชน์ของผู้เข้าอบรม หรือช่วงที่หน่วยงานมีงานเข้ามาน้อย
4 คำนึงถึงการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้มีผู้รู้ นักการศึกษา นักวิชาการ ได้ให้ความหมายไว้นั้นสามารถสรุปได้ว่า หลักสูตรฝึกอบรมหมายถึง กระบวนการที่ถูกจัดทำขึ้นโดยมีเนื้อหาของโครงการที่จะฝึกอบรม และมีขัน้ ตอนในการจัดฝึกอบรมเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดทำขึ้น