บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฏี รูปแบบของกระบวนการวางแผนหลักสูตร

ทฤษฏี รูปแบบของกระบวนการวางแผนหลักสูตร
1.ไทเลอร์ (Tyler , 1949)กำหนดรูปแบบการวางแผนหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อผู้เรียน ไทเลอร์เสนอแนะว่าบุคคลที่มีส่วนร่วมในการวางแผนหลักสูตร ควรคำนึงถึงการตอบคำถาม 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.             อะไร เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาปฏิบัติ?
2.             ทำอย่างไร จึงจะจัดประสบการณ์การศึกษาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ?
3.             ทำอย่างไร จึงจะจัดประสบการณ์การศึกษาไห้มีประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอน ?
4.             ทำอย่างไร จึงจะจัดหาวิธีการประเมินผลประสบการณ์การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ?

2.ทาบา (Taba , 1962 ) เสนอรูปแบบการวางแผนหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการผู้เรียนตามความเชื่อของทาบาที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน ดังนั้นทาบาจึงกำหนดรูปแบบการวางแผนหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.             วินิจฉัยความต้องการของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรเริ่มจาการค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดยการวิเคราะห์หาช่องว่าง จุดบกพร่องและภูมิหลังของผู้เรียน
2.             กำหนดจุดมุ่งหมาย หลังจากได้วิเคราะห์หาความต้องการของผู้เรียนแล้ว นักวางแผนหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยใช้คำว่าเป้าหมายหรือจุดหมาย
3.             เลือกเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อที่จะนำมาศึกษานั้น จะต้องได้มาจากการกำหนดจุดมุ่งหมาย
4.             เรียงลำดับเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะนำเนื้อหาในหัวข้อใดไปไว้ในระดับใด และจะจัดดำดับอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความพร้อมของผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ควรเป็นองค์ประกอบที่จะต้องนำมาพิจารณาในการจัดเนื้อหาให้เหมาะสม
5.             เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ นักวางแผนหลักสูตรจะต้องเลือกวิธีการและเลือกวิธีทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาที่ต้องการ กิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจเนื้อหาแต่ละหัวข้อที่นักวางแผนหลักสูตรและครูเป็นผู้เลือกกำหนดไว้
6.             เรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้  นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องหาวิธีการที่จะจัดและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการผสมผสานและจัดขั้นตอนของกิจกรรมให้กลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
7.             กำหนดรูปแบบการประเมินผลตามจุดมุ่งหมาย นักวางแผนหลักสูตรจะต้องตัดสินใจว่าหลักสูตรที่กำหนดขึ้นนั้นได้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือ รูปแบบการประเมินผลอย่างหนึ่งคือ ให้ผู้สอนที่เป็นผู้เลือกเทคนิคและวิธีการหลายๆวิธี ให้เหมาะสมกับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

3.กระบวนการจัดทำหลักสูตรในทัศนะของฟ็อกซ์ (Robert S. Fox)      ได้เสนอแหล่งข้อมูลสำหรับการพัฒนาหลักสูตร เช่น ค่านิยมต่างๆ ในสังคมและจุดประสงค์ของหลักสูตรก็จะช่วยให้เราคัดเลือกสิ่งที่เรามีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

4.กระบวนการจัดทำหลักสูตรในทัศนะของแฮนนา พ็อตเตอร์ และแฮกกาแมน (Lavone A. Honna, Gladys L. Potter Neva Hagaman)  ได้กล่าวถึงหลักสูตรที่จะสามารถผลิตคนออกไปอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดีนั้นจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งต่อไปนี้คือ
 1. ความต้องการของสังคมที่ผู้เรียนได้อาศัยอยู่ 
2.  ความต้องการ จำเป็น  ความสนใจ  วุฒิภาวะ  เป้าหมาย  และ  ความสามารถของผู้เรียน 
3. มรดกและค่านิยมซึ่งทางสังคมต้องการให้สืบทอดต่อไป

5.กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์, อเล็กซานเดอร์ และลีวิส (J. Galen Saylor , William M. Alexander and Arthur J. Lewis) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการจัดทำหลักสูตรว่า หลังจากได้เป้าหมายและจุดประสงค์แล้ว ก็จะดำเนินการจัดทำหลักสูตร ในการใช้หลักสูตรในชั้นนี้ จะเป็นการประเมินผลความก้าวหน้าของนักเรียนซึ่งดำเนินการโดยครู และประเมินหลักสูตรซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มผู้รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการปรับปรุงหลักสูตรในโอกาสต่อไป


สรุป
ทฤษฏีการวางแผนหลักสูตรควรคำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้ และธรรมชาติของผู้เรียน นั่นคือครูและนักวางแผนหลักสูตร ต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนแต่ละคนว่าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไรบ้างความรู้ที่บรรจุลงในหลักสูตรต้องเป็นไปตามทฤษฏีการเรียนรู้และการกำหนดบรรทัดฐานการเรียนรู้มีส่วนช่วยในการกำหนดกรอบของหลักสูตร

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรฐานวิชาชีพครู

มาตรฐานวิชาชีพครู( 9 มาตรฐาน )

ทฤษฏี รูปแบบของกระบวนการวางแผนหลักสูตร

ทฤษฏี รูปแบบของกระบวนการวางแผนหลักสูตร

                    ไทเลอร์ (Tyler , 1949)กำหนดรูปแบบการวางแผนหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อผู้เรียน ไทเลอร์เสนอแนะว่าบุคคลที่มีส่วนร่วมในการวางแผนหลักสูตร ควรคำนึงถึงการตอบคำถาม 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.             อะไร เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาปฏิบัติ?
2.             ทำอย่างไร จึงจะจัดประสบการณ์การศึกษาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ?
3.             ทำอย่างไร จึงจะจัดประสบการณ์การศึกษาไห้มีประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอน ?
4.             ทำอย่างไร จึงจะจัดหาวิธีการประเมินผลประสบการณ์การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ?

                    ทาบา (Taba , 1962 ) เสนอรูปแบบการวางแผนหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการผู้เรียนตามความเชื่อของทาบาที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน ดังนั้นทาบาจึงกำหนดรูปแบบการวางแผนหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.             วินิจฉัยความต้องการของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรเริ่มจาการค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดยการวิเคราะห์หาช่องว่าง จุดบกพร่องและภูมิหลังของผู้เรียน
2.             กำหนดจุดมุ่งหมาย หลังจากได้วิเคราะห์หาความต้องการของผู้เรียนแล้ว นักวางแผนหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยใช้คำว่าเป้าหมายหรือจุดหมาย
3.             เลือกเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อที่จะนำมาศึกษานั้น จะต้องได้มาจากการกำหนดจุดมุ่งหมาย
4.             เรียงลำดับเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะนำเนื้อหาในหัวข้อใดไปไว้ในระดับใด และจะจัดดำดับอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความพร้อมของผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ควรเป็นองค์ประกอบที่จะต้องนำมาพิจารณาในการจัดเนื้อหาให้เหมาะสม
5.             เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ นักวางแผนหลักสูตรจะต้องเลือกวิธีการและเลือกวิธีทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาที่ต้องการ กิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจเนื้อหาแต่ละหัวข้อที่นักวางแผนหลักสูตรและครูเป็นผู้เลือกกำหนดไว้
6.             เรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้  นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องหาวิธีการที่จะจัดและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการผสมผสานและจัดขั้นตอนของกิจกรรมให้กลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
7.             กำหนดรูปแบบการประเมินผลตามจุดมุ่งหมาย นักวางแผนหลักสูตรจะต้องตัดสินใจว่าหลักสูตรที่กำหนดขึ้นนั้นได้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือ รูปแบบการประเมินผลอย่างหนึ่งคือ ให้ผู้สอนที่เป็นผู้เลือกเทคนิคและวิธีการหลายๆวิธี ให้เหมาะสมกับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
สรุป
               ทฤษฏีการวางแผนหลักสูตรควรคำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้ และธรรมชาติของผู้เรียน นั่นคือครูและนักวางแผนหลักสูตร ต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนแต่ละคนว่าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไรบ้างความรู้ที่บรรจุลงในหลักสูตรต้องเป็นไปตามทฤษฏีการเรียนรู้และการกำหนดบรรทัดฐานการเรียนรู้มีส่วนช่วยในการกำหนดกรอบของหลักสูตร

อ้างอิง 
              การพัฒนาหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศ.ดร.บรรพต สุวรรณประเสริฐ สำนักพิมพ์ The knowledge Center