บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จิตวิทยาการเรียนรู้ - Presentation Transcript




จิตวิทยาการเรียนรู้ - Presentation Transcript

  1. จิตวิทยาการเรียนรู้ Psychology of Learning
    • Psychology of Learning
    ทฤษฏีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยา มี 3 กลุ่ม
    • กลุ่มฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
    • กลุ่มทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญานิยม
    • กลุ่มการเรียนรู้มานุษยนิยม
    • Psychology of Learning
    ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาเทคนิค วิธีการและวัสดุอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสื่อ
    • Psychology of Learning
    • การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้
    • ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
    • 2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
    • Psychology of Learning
    การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้ - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม - ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ - กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ - ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ - การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์ - ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
    • Psychology of Learning
    การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม 2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน 3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ ( act ) ความรู้สึกและความคิด 4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม 5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม
    • Psychology of Learning
    http :// pirun . ku . ac . th / ~g4966078 / contemporary . doc ขอขอบคุณ

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สวนดุสิตโพล: “10 ปัญหาการศึกษาไทย” ที่ “หนักอกผู้บริหารการศึกษา


สวนดุสิตโพล: “10  ปัญหาการศึกษาไทย” ที่ “หนักอกผู้บริหารการศึกษา



http://www.ryt9.com/s/sdp/232859

ปัญหาการศึกษา คือ ปัญหาเด็กเยาวชน



ปัญหาการศึกษา คือ ปัญหาเด็กเยาวชน


http://news.sanook.com/scoop/scoop_215218.php

ปัญหาการจัดการศึกษาของไทย


ปัญหาการจัดการศึกษาของไทย



http://www.moc.moe.go.th/node/354

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา


http://socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=536306

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทบาทของครูในทัศนะอิสลาม



บทบาทของครูในทัศนะอิสลาม
........................................................
อิสลามได้ให้ความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้ซึ่งถือเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การศรัทธาและการปฏิบัติตนเพื่อแสดงความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยความสำคัญของการศึกษา อิสลามจึงยกย่องและให้เกียรติแก่ผู้ศึกษาหาความรู้ และปราชญ์ผู้ให้ความรู้หรือครูผู้สอน ดังหลักฐานจาก อัลกรุอ่านและอัลฮาดีษ 
ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า และผู้เดินทางแสวงหาความรู้ พระผู้เป็นเจ้าจะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับเขาหนทางไปสู่ทรวงสวรรค์      (รายงานโดย อาบูฮูรอยเราะฮฺ   มุสลิม  อิบนุมาญะฮฺ  ติรมิซี) 
เทคนิคการสอน  แนวคิดของอิหม่าม ฆอซาลี  มีทัศนะว่าครูที่ดีต้องรู้จริงในเนื้อหาที่จะสอน และการสอนทุกครั้งจะต้องมีการเตรียมพร้อมในแผนการสอนล่วงหน้า มิฉะนั้นแล้วการเรียนการสอนก็จะไม่มีประสิทธิภาพ 
นอกจากนั้นท่านยังเชื่ออีกว่าผู้สอนที่ยังไม่มีการเตรียมล่วงหน้า เขาผู้นั้นได้ปฏิบัติในสิ่งที่อธรรมของบรรดาผู้ที่เรียนนอกจากนี้ อิม่ามฆอซาลี ยังให้ความสำคัญต่อความรู้เดิมของนักเรียน ท่านเชื่อว่าความรู้เดิมยังส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนา ยังสอดคล้องกัลป์หลักทฤษฏีการถ่ายโยงความรู้ของนักจิตวิทยา และการศึกษาสมัยใหม่   
แนวคิดของอิบนุญามาอะฮฺ  บทบาทและหน้าที่ของครูที่ดีตามแนวคิดของอิบนุญามาอะฮฺ สามารถสรุปได้ดังนี้
1.ให้วิชาความรู้ และการสอนนั้นอยู่เหนือประโยชน์ส่วนตัว
2. มีคุณธรรม จรรยาบรรณในการสอน
3. มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในสาขาการสอน
4. มีความเข้าใจในด้านการศึกษาทั่วไปและคุ้นเคยกับสาขาวิชานั้น
5. มีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและสิ่งแวดล้อมทางสังคม
6. มีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับสังคมผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคลและข้อจำกัดของพวกเขา
7. มีความยุติธรรมกับผู้เรียนทุกคน
8. ปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความรักและปฏิบัติด้วยความอดทน
9.ให้ความสนใจต่อการแต่งกายและบุคลิกภาพโดยทั่วไปของตนเองและนักเรียน 
แนวคิดของมูฮัมหมัดอิบนุ ซะอฺนูน          มูฮัมหมัด อิบนุซะอฺนูน เป็นนักศึกษาของผู้รู้ทางศาสดา ท่านได้แสนอทฤษฏีทางการศึกษาและได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของครูโดยแบ่งได้แบ่งเป็นสามด้าน ด้วยกันคือ
1. คุณลักษณะของทางด้านวิชาการ
2. การท่งจำอัลกุรอ่านและรู้กฎของการอ่านและการท่องจำ
3. มีความรู้ทางด้านฟิกฮฺ
4. มีความรู้ทางด้านหลักไวย์กรณ์และทักษะการเขียนภาษอาหรับมีความเกี่ยวข้องกับภาษาอาหรับ
5. มีความสามารถในการพูดและศาสตร์ทางด้ายร้อยกลอน  ร้อยแก้ว  วรรณคดีทั่วไป 
แนวคิดของ (chaudhi and sagih )1980          ได้เสนอบทบาทของครูในการทำหน้าที่การสอนการศึกษาทางศาสนาดังนี้
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านจิตวิทยา
2. มีทักษะ ความจริงใจ และความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ในการชี้นำจิตวิญญาณของเด็กสู่แนวทางวิชาความรู้ศาสนาและประสบการณ์ที่ถูกต้อง
3.ได้ฝึกอ่านอัลกุรอ่านอย่สางถูกต้องตามหลักตัจวีค
4.ได้ศึกษาวัฒนธรรมอิสลามอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางด้านเกี่ยวกับสถาบัน และหน้าที่ประวีติศาสตร์ และพัฒนาการ ผลกระทบและการท้าทายในยุคปัจจุบัน
5. มีความรู้ทางด้านภาษอาหรับ
6. มีความรู้ทางด้านจิตวิทยา ปรัชญา  การศึกษาตามทัศนะอิสลาม
7.รู้จักใช้เทคนิคและวิธีการสมัยใหม่ในการจัดการเรียนการสอน และสามารถประยุกต์ใช้ในสื่อการสอน 
หลักคำสอนของศาสนาอิสลามได้กำหนดบทบาทของครูที่ดีดังนี้          ครูต้องเป็นที่ซื่อสัตย์เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของบุคคลทั่วไป ไม่พัดจากลับกลอก หรือหน้าไหว้หลังหลอก ต้องเป็นพูดที่พูดสัจจะ ไม่ฉ้อโกง หรืเบียดบังเอาพูดอื่นมาเป็นของตนในทางที่มิชอบ ครูต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ผูกพยาบาทกัน ต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน-  ครูต้องวางตนให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม แม้ว่าเขาได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ชี้ขาดในเรื่องหนึ่ง-  เรื่องใดก็จงวินิจฉัยด้วยความเที่ยงธรรม-  ครูต้องให้เกียรติแก่ผู้อื่น-  ครูต้องมีความอดทนในสิ่งที่ประสบ-  ครูไม่ดูถูกดูหมิ่นแก่เพื่อนร่วมงาน-  ครูต้องหมั้นหาความรู้วิชาเพิ่มเติม          
อุลามาอฺและการปฏิบัติ
1.ความล้มเหลวของอิสลามเป็นผลมาจากผู้ที่ชั่วช้า
2. อุลามาอฺจะถูกเหยียดหยามเนื่องจากจิตใจที่ตายด้านสติปัญญาของมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 4  จำพวก         
-  ผู้รู้ที่รู้ว่าตนเอง เขาคืออาลิม จงเชื่อและปฏิบัติตามเขา         
-  ผู้รู้ที่รู้ว่าตนเองรู้ เขาคืออาลิมที่นอนหลับ ดังนั้นจงปลุกเขา         
-  ผู้ไม่รู้และรู้ว่าตนเองไม่รู้ เขาคือผู้ต้องการทางนำ ดังนั้นจงสั่งสอนเขา         
-  ผู้ไม่รู้และรู้ว่าตนเองไม่รู้ เขาคือคนโง่เขลา จงทิ้งเขาไปเสียไมรู้และไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้ เขาคือคนโง่เขลา จงทิ้งเขาไปเสีย         
3. บุคคลหนึ่งจะไม่ถูกเรียกว่าผู้รู้ นอกจากเขาจะร่ำเรียนเสียก่อนและจะไม่เรียกบุคคลหนึ่งว่าผู้รู้หากเขาไม่ปฏิบัติ         
4. คนญาฮิล คือ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองรู้         
5. ผู้รู้ทุกคนมึนเมา ยกเว้นผู้ที่ปฏิบัติในความรู้ของเขา 
วิชาความรู้ที่มีประโยชน์
1. ความรู้มี  2  ประเภท                   
1.1 ความรู้ที่อยู่ที่ปลายลิ้น                   
1.2 ความรู้อยู่ที่หัวใจ
2. ส่งเสริมให้วิงวอนขอให้ได้รับความรู้ที่มีประโยชน์และขอให้ห่างไกลจากความรู้ที่ไม่มีประโยชน์ 
การเผยแพร่ความรู้
1. การเริ่มต้นความรู้คือการเงียบ ต่อมาคือการฟัง  ท่องจำ  ปฏิบัติ แล้วจึงเผยแพร่มัน
2. อย่าขี้เหนียววิชาความรู้ เมื่อรู้แล้วจงเผยแพร่แก่ผู้อื่น3. ผู้ใดที่ปกปิดซ่อนเร้นความรู้เขาจะประสบกับ 
3  ประการเขาจะตายไปในขณะที่ความรู้ก็จะตายตามด้วยจะถูกทดสอบด้วยผู้ปกครองที่อธรรมเขาจะหลงลืมความรู้ที่เคยท่องจำมาแล้ว



แนวคิดและวิธีการสอนภาษาอังกฤษ - อดีตถึงปัจจุบัน




แนวคิดและวิธีการสอนภาษาอังกฤษ - อดีตถึงปัจจุบัน
แนวคิดและวิธีสอนภาษาอังกฤษที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (ESL) และภาษาต่างประเทศ (EFL) มีดังนี้
        1. การสอนแบบไวยากรณ์และแปล (grammar-translation method)
        2. วิธีสอนแบบตรง (direct method)        3. วิธีสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method)        4. การสอนตามแนวทฤษฎีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ (cognitive code-learning)        5. การสอนตามแนวธรรมชาติ (natural approach)        6. การสอนแบบเงียบ (silent way)        7. การสอนแบบชักชวน (suggestopedia)        8. การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (total physical response method)        9. การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ (community language learning)        10. การสอนตามแนวสื่อสาร (communicative language teaching)


แนวโน้มการเรียนภาษาอังกฤษในอนาคต
        1. การสอนตามแนว cognitive-constructivist approach to language learning)        2. การเรียนตามแนวบูรณาการเนื้อหาและภาษา (content and language integrated learning)         3. การเรียนแบบร่วมมือ (cooperative learning)        4. การบูรณาการภาษากับวัฒนธรรม (integration of culture in language learning)        5. การบูรณาการวรรณคดีกับการเรียนภาษา (integration of literature in language learning





แนวคิดและวิธีสอนภาษาที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต การสอนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสาร communicative language teaching (CLT)

การสอนตามแนวสื่อสารคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร

          การสอนตามแนวสื่อสารได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรก ในแถบอเมริกาเหนือและยุโรปในช่วงปี 1970 การสอนตามแนวสื่อสารเกิดขึ้นในยุโรป เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้อพยพเข้าไปอาศัยในยุโรปเป็นจำนวนมาก สมาพันธ์ยุโรป (Council of Europe) จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาที่สองแบบเน้นหน้าที่และสื่อความหมาย (functional national syllabus design) เพื่อช่วยให้ผู้อพยพสามารถใช้ภาษาที่สองในการสื่อสาร ในส่วนของอเมริกาเหนือไฮมส์ (Hymes) ได้ใช้คำว่า ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (communicative competence) หมายถึงความสามารถในการปฎิสัมพันธ์ หรือปะทะสังสรรค์ทางด้านสังคม (social interaction) ซึ่งความสามารถทางด้านภาษาที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถที่จะพูด หรือเข้าใจคำพูดที่อาจไม่ถูกหลักไวยากรณ์ แต่มีความหมายเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่คำพูดนั้นถูกนำมาใช้ (Savignon, 1991)

          การสอนภาษาแบบสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) คือแนวคิดซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา (linguistic knowledge) ทักษะทางภาษา (language skill) และความสามารถในการสื่อสาร (communicative ability) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร (Canale & Swain, 1980 ; Widdowson, 1978). คเนล และสเวน (1980) และเซวิกนอน (Savignon, 1982) ได้แยกองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารไว้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้

          1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (grammatical competence) หมายถึงความรู้ทางด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง

          2. ความสามารถด้านสังคม (sociolinguistic competence) หมายถึงการใช้คำ และโครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การถามทิศทางและข้อมูลต่าง ๆ และการใช้ประโยคคำสั่ง เป็นต้น

          3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และเขียน (discourse competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้างภาษา (grammatical form) กับความหมาย (meaning) ในการพูดและเขียนตามรูปแบบ และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

          4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (strategic competence) หมายถึงการใช้เทคนิคเพื่อให้การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการสื่อสารด้านการพูด ถ้าผู้พูดมีกลวิธีในการที่จะไม่ทำให้การสนทนานั้นนั้นหยุดลงกลางคัน เช่นการใช้ภาษาท่าทาง (body language) การขยายความโดยใช้คำศัพท์อื่นแทนคำที่ผู้พูดนึกไม่ออก เป็นต้น

          จะเห็นได้ว่า CLT ไม่ได้ละเลยโครงสร้างทางไวยากรณ์ แต่ในการสอนโครงสร้างทางไวยากรณ์ต้องเน้นการนำหลักไวยากรณ์เหล่านี้ไปใช้ เพื่อการสื่อความหมายหรือการสื่อสารคเนล และสเวน (Canale & Swain, 1980) อธิบายไว้อย่างชัดเจนถึงความสำคัญของกฎเกณฑ์และโครงสร้างทางภาษา ถ้าปราศจากกฎเกณฑ์ และโครงสร้างแล้วความสามารถทางการสื่อสารของผู้เรียนจะถูกจำกัด ดังนั้น ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (fluency) และความถูกต้องในการใช้ภาษา (accuracy) จึงมีความสำคัญเท่ากัน



บทบาทของผู้เรียน (learner roles)


           บรีนและแคนดริน (อ้างใน Richards & Rodgers, 1995) อธิบายบทบาทของผู้เรียนตามแนว CLT ผู้เรียนคือผู้ปรึกษา (negotiator) การเรียนรู้เกิดจากการปรึกษาหารือในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จุดมุ่งหมายหลักในการทำกิจกรรมกลุ่มคือมุ่งให้ผู้เรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการให้พอ ๆ กับการรับ
บทบาทของครู (teacher roles)


           ครูมีบทบาทที่สำคัญ 3 บทบาท คือผู้ดำเนินการ (organizer, facilitator)เตรียมและดำเนินการจัดกิจกรรม ผู้แนะนำหรือแนะแนว (guide) ขั้นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นผู้วิจัยและผู้เรียน (researcher, learner) เรียนรู้พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนแต่ละคน นอกจากนั้นครูอาจมีบทบาทอื่น ๆ เช่น ผู้ให้คำปรึกษา(counselor) ผู้จัดการกระบวนการกลุ่ม (group process manager) ครูตามแนวการสอนแบบCLT เป็นครูที่เป็นศูนย์กลางน้อยที่สุด (less teacher centered) นั่นคือครูมีหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อการสื่อสารและในช่วงที่นักเรียนทำกิจกรรมครูจะกระตุ้นให้กำลังใจช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ได้ความหมายและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อันเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างความสามารถทางไวยากรณ์ (grammar competence) และความสามารถทางด้านสื่อสาร (communicative competence) ของผู้เรียน
บทบาทของสื่อการเรียนการสอน (the role of instructional materials)


การสอนตามแนว CLT จำเป็นที่ต้องใช้สื่อที่หลากหลาย เพราะสื่อมีความสำคัญต่อการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์หรือการเรียนแบบร่วมมือและการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สื่อที่สำคัญ 3 อย่างที่ใช้สำหรับการสอนตามแนว CLT ได้แก่ เนื้อหา (text-based) งาน/กิจกรรม (task-based) ของจริง(realia)

        - เนื้อหา (text-based material) ในปัจจุบันมีตำราเรียนจำนวนมากมายที่สอดคล้องกับการเรียน/สอนตามแนว CLT ซึ่งการออกแบบตำราเรียนกิจกรรมและเนื้อหาแตกต่างจากตำราที่แต่งขึ้นมาเพื่อสอนไวยากรณ์ ยกตัวอย่าง แบบเรียน CLT จะไม่มีแบบฝึกหัด (drill) หรือโครงสร้างประโยคส่วนมากแบบเรียนที่เน้น CLT จะประกอบไปด้วยข้อมูลในรูปต่าง ๆ เช่น การจัดสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติหรือกิจกรรมคู่ หรืออาจกำหนดเรื่อง (theme) ที่จะเรียนแล้วมีกิจกรรมที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องนั้น ๆ

         - งาน/กิจกรรม (task-based material) เกมส์ต่าง ๆ บทบาทสมมุติ การเลียนแบบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น กิจกรรมการสอบถามแลกเปลี่ยนข้อมูล (gap conversation) กิจกรรม Jigsaw ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทำงานเป็นกลุ่มร่วมมือกัน

         - สื่อที่เป็นของจริง (realia) CLT เน้นการใช้สื่อที่เป็นของจริง (authentic material) เช่น ป้ายประกาศโฆษณา หนังสือพิมพ์รูปภาพ แผนที่ เป็นต้น
ที่มา
http://wbc.msu.ac.th/wbc/edu/0506714/Unit_2/Unit_2.htm

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม


http://sambydee.blogspot.com/2009/11/blog-post_26.html#comment-form

“ทฤษฎีการพัฒนากับการเรียนการสอนภาษา”



เรื่อง “ทฤษฎีการพัฒนากับการเรียนการสอนภาษา”  โดย รศ.ดร. พัชรินทร  สิรสุนทร
Social Interaction Approach
    ในการศึกษาสังคมควรศึกษาทั้งในแงขนาดและลักษณะทางสังคม นักสังคมวิทยามีความเชื่อพื้นฐานวา ความสัมพันธ
ของคนในสังคมเปนแรงผลักทางสังคม  (Social Force) และวัฒนธรรมตลอดจนธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย
ลวนเปนผลมาจากปฏิสัมพันธทางสังคม (Social Interaction ) ของมนุษยทั้งสิ้น
1. ความสัมพันธของมนุษย( Human Interaction )เปนสิ่งที่มีอิทธิพลตอการรวมกันเปนสังคมของ
       มนุษยและ การติดตอกันดวยสัญญลักษณ  (Symbolic Interaction) สัญญาณ (Sign)
2. การศึกษาความสัมพันธระหวางคนกับวัตถุก็ถือวาเปนสาระของสังคมวิทยาเชนกัน เนื่องจากวัตถุเปน
     Social Object ที่คนมีปฏิสัมพันธดวย
3. มุงศึกษาความสัมพันธที่มีวัตถุประสงคและเปนปฏิกริยาที่เกิดขึ้นโดยเจตนา
4. ศึกษาสังคมทั้งสังคมทั้งในสวนยอยและสวนใหญ เชนภาวะโครงสรางภายในของสังคม (Internal Structure )
       และศึกษาลักษณะภายในสังคมตางๆ
5. ศึกษาสถาบัน  (Institutions)
6. ศึกษาลักษณะทางสังคมของภาษา (Social Nature of Language) โดยการเรียนรูจาก
      ประสบการณของมนุษยทั้งโดยภาษาพูด ( Verbal ) และภาษาทาทาง( Gestures)ในขณะที่มีสติ
     ( Consciousness )
7. ศึกษากระสวนของการปฏิสัมพันธ(Pattern of Interaction ) โดยการศึกษาบทบาทและ
       โครงสราง  ( Role and Structure )
8. ศึกษาบทบาทและความสัมพันธที่เกี่ยวของกัน ( Relations )
9. ศึกษาความสัมพันธทางสังคม  (Social Relations) จากสถานภาพ (Status) และบทบาท (Role)
10. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  (Social Changes )
11. ศึกษาความขัดแยงทางสังคม (Social Conflict ) และการจัดการกับความขัดแยง
กลุมทฤษฎีสัมพันธสัญญลักษณ( Symbolic Interactionism Theories )
นักทฤษฎีสัมพันธสัญญลักษณคนสําคัญไดแก  :
George Herbert Mead (1863-1931)
 Mead แบงขั้นตอนการพัฒนาตัวตนของบุคคลออกเปน3 ขั้นตอนไดแก
1. ขั้นการเตรียมตัว ( Preparatory Stage )
2. ขั้นตอนของการเลน  ( Play Stage )
3.  ขั้นการรูจักชุมชนหรือสังคม (Game Stage )
Mead เชื่อวาการกระทําระหวางกันทางสังคมเปนสิ่งสําคัญมากตอการสรางตัวตนของบุคคล เนื่องจากบุคคลจะ
ตองแสดงกริยาอาการ (Gestures) ออกมาในระหวางที่มีการติดตอสัมพันธกับผูอื่น โดยแบงกริยาอาการของ
บุคคลออกเปน 2 แบบคือ2
1. กริยาที่ไมมีความหมาย ( Non-significant gestures) หมายถึงกริยาที่เปนไปตามธรรมชาติหรือ
      เปนไปโดยอัตโนมัติเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเรา
2. กริยาที่มีความหมาย (Significant gestures) เกิดจากภาษาหรือสัญญลักษณที่มนุษยคิดคนขึ้นมาเปน
      เครื่องมือในการสื่อความหมายกับบุคคลอื่นในสังคม
Mead ไดแบงขั้นตอนของการกระทําระหวางกันทางสังคมออกเปนขั้นตอนโดยแตละขั้นไมจําเปนตองเสร็จสิ้น
ในทันทีซึ่งสามารถนํามาประยุกตใชในการเรียนการสอนภาษาไดดังนี้
Social Action  (ขั้นตอนในการปฏิบัติการทางสังคมในการเรียนภาษา)
1. Impulse stage / not ready stage (ขั้นของแรงกระตุน) เกิดขึ้นในขณะที่รางกายของบุคคล
       ยังอยูในภาวะที่ไมสมดุล การกระทําที่แสดงออกจึงไมมีเปาหมายหรือไมมีทิศทางในการกระทํา
2. Perception stage (ขั้นแลเห็นหรือเขาใจความหมาย) เปนขั้นที่บุคคลเริ่มกําหนดสถานการณและคนหา
        วิธีการที่จะทําใหตัวเองบรรลุเปาหมายหรือไดรับความพึงพอใจ
3. Manipulation stage (ขั้นกระทําหรือจัดแจง) เกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลตัดสินใจและรับรูหรือเขาใจใน
        เปาหมายในขั้นตอนที่สองแลวและลงมือกระทําพฤติกรรม
4. Consummation stage / obtain the goal (ขั้นสมบูรณ) เกิดขึ้นเมื่อเปาหมายของบุคคล
       ไดรับการตอบสนองและบุคคลกลับคืนสูสภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
Mead แบงตัวตนของบุคคลออกเปน 2  แบบดังนี้
1.  “ I ” หมายถึง การตอบสนองของรางกายตอทัศนคติและการกระทําของสมาชิกในสังคม
2.  “ Me ” หมายถึงตัวตนในสวนที่สังคมคาดหวังวาบุคคลตองกระทํา me จึงจัดเปนตัวตนทางสังคม
( Social Self ) ของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลไดรับการขัดเกลาทางสังคม
Herbert Blumer
      Blumer มีทัศนะวา มนุษยจะมีการกระทําตอสิ่งตางๆโดยอาศัยพื้นฐานของการตีความ ความหมายที่สิ่งตางๆ
เหลานั้นปรากฏออกมา ผานการกระทําระหวางกันทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ และลักษณะของการตีความสิ่งตางๆของ
บุคคลนี้จะขึ้นอยูกับความหมายที่บุคคลใหกับสิ่งนั้นตามประสบการณที่เขาเคยไดรับมา และการตีความตามสัญญลักษณ
ที่บุคคลอื่นแสดงออกมา โดยแบงวัตถุหรือสัญญลักษณตางๆออกเปน 3 ประเภทคือ
1. วัตถุทางกายภาพ ( Physical Object )
2.  วัตถุทางสังคม ( Social Obect )
3.  วัตถุทางนามธรรม ( Abstract Object )
        Blumer เชื่อวา บุคคลจะเรียนรูวัตถุหรือสัญญลักษณเหลานี้โดยการกระทําระหวางกันทางสังคมกับบุคคลอื่น
หลังจากนั้นจึงเกิดการรับรูตัวตน ( Self ) ในลักษณะตางๆกอนนํามาตีความ เมื่อมีโอกาสเขารวมสังคมกับคนอื่น
แลวจึงแสดงพฤติกรรมตอบโตออกไป
        การเรียนการสอนภาษามิใชเปนการเรียนเฉพาะตัวภาษาเทานั้น แตเปนการสอนตัวตน ชีวิตความเปนอยู โดยผาน
ภาษานั้นๆเปนตัวเชื่อมนั่นเอง