บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ปากกาอัลกุรอาน quran read pen.wmv

ประชาคมอาเซี่ยน Association of Southeast Asian Nations [ ASEAN Anthem ]

ผลการสัมมนาเรื่องประชาคมอาเซี่ยน



ผลการสัมมนาเรื่องประชาคมอาเซี่ยน

ลิงค์ เลยครับ
http://strategy.police.go.th/index.php/component/content/article/265

การเปลี่ยนแปลงที่ดีสู่...ประชาคมอาเซี่ยน 
คุณ...พร้อมแล้วหรือยัง???
อ.ฮารูณ ราโอบ 

ประชาคมอาเซียน3

ประชาคม อาเซี่ยน The ASEAN community 2015

The ASEAN Community by 2015

เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ASEAN Economic Community (AEC) 2015


เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  ASEAN Economic
Community (AEC) 2015 

          อีก 4 ปีข้างหน้า คือปี 2015   ประเทศไทยจะต้องเปิดประเทศเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน” ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN) มีอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียตนาม

         ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล  ผอ.ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กล่าวว่า ภาคธุรกิจร้อยละ 80-90 ของไทยเป็นธุรกิจประเภท SME จึงถือว่า SMEเป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจไทย แต่ปัญหาอันดับหนึ่งคือ มุ่งแข่งขันภายในประเทศเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ลืมมองเรื่องที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งตั้งเป้าว่าจะเกิดขึ้นในปี 2020 และไทยกับประเทศสมาชิก ประเทศ กำหนดจะรวมตัวกันปี 2015 ประเด็นสำคัญก็คือ ลดอัตราภาษีลงเหลือศูนย์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาแรงงานมีฝีมือมีจำกัด จะยิ่งไหลออกนอกประเทศ  

         ผอ.ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  กล่าวอีกว่า ทางแก้ปัญหาของผู้ประกอบการคือ

1. เร่งสร้างบุคลากร 

2. เน้นภาษาที่ต้องปรับตัวเอง

3. ติดตามข่าว เข้าใจประโยชน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไทยจะเสียโอกาสหรือมีอุปสรรคอย่างไร โอกาสมักจะมาพร้อมกับอุปสรรค จึงต้องปรับตัว เช่น เรียนรู้การขายระบบออนไลน์ที่ต้องมีหลายภาษา ซึ่งเหลือเวลาเพียงอีก ปีเท่านั้น                            

         ดร.วิษณุ  กล่าวด้วยว่า  ภาครัฐยังให้ข้อมูลข่าวสาร ทำความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนไม่ดีพอ  รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาให้ความรู้เรื่องนี้  ต้องเปลี่ยนประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าหรือประเทศคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์  มาเลเซีย  มาเป็นพันธมิตร    SME ส่วนใหญ่ของไทยส่งออกไปตลาดในกลุ่มประเทศที่สู้เราไม่ได้ ขณะที่ SME เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของอาเซียน จึงต้องเร่งให้ความรู้ประชาชน

          นอกจาก SME ที่ภาครัฐต้องให้การดูแลแล้ว เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่คือชนชั้นกลางที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อาชีพที่ทำส่วนใหญ่จึงมักจะเป็น มนุษย์เงินเดือน หรือ ลูกจ้างมืออาชีพ ที่ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น มาตรฐานความสามารถทางด้านวิชาชีพของตัวเราเป็นอย่างไร ต้องพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอย่างไรบ้าง อย่างน้อยเพื่อให้เราถูกเลือกเข้าทำงาน เพราะคู่แข่งขันของเราจะเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว

The ASEAN Community by 2015 (มาฝึกภาษาอังกฤษกันครับ)


ASEAN Community


ASEAN Community
40 ปี อาเซียน
อาเซียนได้ขยายตัวทั้งในลักษณะจำนวนสมาชิกและขอบเขตความร่วมมือโดยความร่วมมือในแต่ละสาขาได้มีพัฒนาการในทางที่ใกล้ชิดและลงรายละเอียดมากขึ้นตามลำดับ ไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศผู้ก่อตั้งได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อาเซียนเริ่มนโยบายหรือมาตรการอันเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของอาเซียนโดยรวมมาโดยตลอดทั้งในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ ไทยยังได้ริเริ่มให้อาเซียนรับรองเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดทิศทางและเป้าหมายการดำเนินงานในทุกด้านโดยมีแผนปฏิบัติการรองรับ คือ Hanoi Plan of Action ต่อมา อาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติงานต่อเนื่องจาก Hanoi Plan of Action ซึ่งหมดอายุ  คือ แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme-VAP) ซึ่งเป็นแผนงาน 6 ปี (ปี 2547-2553) โดยครอบคลุมกิจกรรมด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

อาเซียนในปัจจุบัน
ผู้นำอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord LL หรือ Bali Concord LL)  เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน   โดยในด้านการเมืองให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEAN Political Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ต่อมา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือ เป็นประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปี 2558

 - การเป็นประชาคมการเมืองความมั่นคง ปัจจุบันอาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำร่างแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community Blueprint) โดยมีเป้าหมายเพื่อ ก) สร้างประชาคมอาเซียนให้มีค่านิยมร่วมกัน ข) ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุมคามด้านความมั่นคงในรูปแบบใหม่ และ ค) เสริมสร้างให้อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่หนักแน่นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลกโดยมีอาเซียนเป็นผู้นำในภูมิภาค

 - การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ปี 2550  ผู้นำอาเซียนได้ลงนามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community Blueprint) เพื่อให้อาเซียนมีความสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ และแนวโน้มการจัดทำข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันเพื่อดึงเงินลงทุนโดยตรงซึ่งมีแนวโน้มที่จะถ่ายโอนไปสู่ประเทศอื่นนอกภูมิภาคอาเซียนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาเซียนต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มภายในเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็น ตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ   การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจ

 - การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  เพื่อให้อาเซียนมีสังคมที่เอื้ออาทรและมีความมั่นคง ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีระดับการพัฒนาในทุกด้าน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียน โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านสังคม (ASEAN Socio-Cultural Community Plan of Action) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมซึ่งเน้นใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง และ (4) ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารซึ่งจะเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และขณะนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนงานการจัดตั้งประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) กฎบัตรอาเซียนจัดทำขึ้นเพื่อรับรองการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงไว้ โดยต้องการให้อาเซียนเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล และสร้างประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ในกฎบัตรอาเซียนยังได้ระบุประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน อาทิ การมีเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน และการจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาท เป็นต้น

การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย
ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 41 ในเดือนกรกฎาคม 2551 ที่สิงคโปร์จนถึงเดือนธันวาคม 2552 ในช่วงการเป็นประธาน ไทยมีภารกิจในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับประเทศ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาเซียน นอกจากนี้ยังจะเป็นโอกาสให้ไทยผลักดันประเด็นที่จะช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ของไทยในกรอบอาเซียน ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน การทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน รวมทั้งการเสริมสร้างการพัฒนาและการมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนในภูมิภาค

การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน
  โอกาสที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ระยะเวลา 1 ปี ครึ่ง ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2551 – ธันวาคม 2552 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน 1 ครั้งในปีนี้ และอีก 2 ครั้งในปี 2552 โดยจะเน้นเป้าหมายการดำเนินการ 3 เรื่อง (3 R) ได้แก่

  - การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the Commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะในเรื่องการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆที่จะจัดขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา และคณะมนตรีประสานงานอาเซียน เป็นต้น

  - การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing ASEAN as a people-centered Community) ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน

 - การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้การดำเนินความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาท้าทายต่างๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น

http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=191&Itemid=171
อ้างอิง