บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)

ทฤษฎีมานุษยนิยมของมาสโลว์

ทฤษฎีมานุษยนิยมของมาสโลว์

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

ระบบการสอนของดิคและคาเรย์ (Dick and Carey)

ระบบการสอนของดิคและคาเรย์ (Dick and Carey)

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivis

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivis

in_harun@hotmail.com
http://www.kroobannok.com/1549

แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์

แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)
ความหมายของ E.Q.
“E.Q.” คือ ชื่อย่อของ Emotional Quotient หรือ เชาว์อารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งหมายถึง ความสามารถใน การตระหนักรู้ถึง ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อการสร้างแจงจูงใจในตนเองบริหารจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ได้ (Goleman, 1998) ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ E.Q. ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อและมุมมองต่อสูตรแห่งความสำเร็จในเรื่อง การเก่งคน เก่งคิด และเก่งดำเนินชีวิต (Cooper, and Sawaf, 1997) คนที่คิดแก้ปัญหาเฉาะทางได้ดี หรือ มี I.Q. (Intelligent Quotient) สูง หรือความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาสูงอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจหรืองานทางด้านบริหาร (Gibbs, 1995) ตัวอย่างเช่น วิลเลียม ชอกลีย์ (William Shockley) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ประจำปี พ.ศ. 2499 ของสหรัฐอเมริกา จากการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญได้เป็นคนแรกของโลก ชอกลีย์ ได้ชื่อว่าเป็น ผู้ปฏิวัติโลก อิเล็กทรอนิกส์ และได้ชื่อว่า เป็น “บิดาแห่งทรานซิสเตอร์” แต่เมื่อเขามาเปิด โรงงานผลิตทรานซิสเตอร์ ณ ซิลิกอน แวลลีย์ สหรัฐอเมริกา ก็ไม่เป็นที่ยอมรับในเชิงการบริหารและ การมีวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจจากผู้ร่วมงาน

นอกจากนี้ E.Q. ยังมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทำงาน ชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัวและสังคม เรื่องที่น่าสนใจและน่าดีใจก็คือ E.Q. สามารถเพิ่มพูนได้ฝึกฝนได้ เพิ่มทักษะได้ การเสริมสร้าง E.Q. โดยวิธีการฝึกใช้ E.Q. ก็เป็นวิธีการที่จะช่วยเพิ่มพูน ความฉลาดทางอารมณ์ แม้ว่า E.Q. จะเป็นของใหม่สำหรับเมืองไทย แต่หากมองเข้าไปลึก ๆ ถึง ข้อคิดของการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ที่ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษของไทยเราได้ฝากคติเตือนใจไว้ในสำนวน สุภาษิต คำคมและโวหาร เช่น “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” อันเป็นข้อคิดที่ให้ลูกหลานรู้ ระวังรักษาควบคุมอารมณ์ รู้ระวังความคิด ไม่ให้กระเจิดกระเจิง กระจัดกระจาย อารมณ์และความคิดซึ่งโบราณหมายรวมถึง จิตหรือใจเป็นต้นแห่งการกระทำ และคำพูด ตลอดจนการเลือกตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยกาย หากมองในแง่นี้ แม้ว่า E.Q. จะดูเป็นของใหม่แต่ การใช้ E.Q. สำหรับคนไทยในหลายเรื่องได้รับการปลูกฝังกันมานานทีเดียว
ความสำคัญขององค์ประกอบ อีคิว
องค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการของ อีคิว ได้แก่
1) ความตระหนักรู้ตนเอง (Self Awareness)
2) การจัดการกับอารมณ์ (Managing Emotion)
3) การจูงใจตนเอง (Motivating Oneself )
4) การเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
5) ทักษะทางสังคม (Social Skills)

องค์ประกอบ 5 ประการนี้มีความสำคัญต่อผู้นำองค์กรอย่างไร
1 ความตระหนักรู้ตนเอง หมายถึง การตระหนักถึงสิ่งที่ตนเองกำลังรู้สึก เป็นจิตสำนึกทางอารมณ์ภายในตนเอง ผู้นำสามารถสัมพันอารมณ์ของตนเอง เพื่อที่จะมี ปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพและซาบซึ้งในอารมณ์ของผู้อื่นได้ ผู้นำที่มีความตระหนักรู้ตนเองในระดับสูงย่อมเรียนรู้ที่จะไว้ใจความรู้สึกอดทนของตนเองและตระหนักได้ว่า ความรู้สึกเหล่านี้สามารถให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการตัดสินใจที่ยากลำบากได้ เนื่องด้วยบางทีผู้นำไม่อาจหาคำตอบของปัญหาต่าง ๆ จากแหล่งภายนอกได้ก็จำเป็นที่จะต้องไว้ใจความรู้สึกของ ตนเอง
การจัดการกับอารมณ์ ผู้นำสามารถที่จะถ่วงดุลอารมณ์ของตนเองได้ แม้กระทั่ง ความวิตกกังวล ความตื่นเต้น ความกลัว หรือความโกรธ และไม่แสดงออกถึงอารมณ์เหล่านั้นได้ดีขึ้น การจัดการกับอารมณ์มิได้หมายความถึงการระงับหรือปฏิเสธ แต่เป็นการเข้าใจและใช้การเข้าใจนั้นเพื่อจะจัดการกับสถานการณ์ได้อย่างดี ผู้นำควรตระหนักถึงอารมณ์ความรู้สึกแต่แรก แล้วคิดว่ามันเป็นอะไร มีผลต่อตนเองอย่างไร แล้วจึงคอยเลือกที่จะกระทำอย่างไรต่อไป
การจูงใจตนเอง จัดเป็น ความสามารถ ที่จะหวังและมองโลกในแง่ดี ทั้ง ๆ ที่มีอุปสรรค ปราชัย หรือผิดพลาด ความสามารถข้อนี้ มีความ สำคัญต่อ การดำเนินเป้าหมาย ในระยะยาวของชีวิต หรือ งานธุรกิจ ครั้งหนึ่ง บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ ทางจิตวิทยา แห่ง มหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย ให้ว่าจ้าง กลุ่มผู้สมัครงาน ที่ทดสอบแล้วว่า มีค่าการมองโลกในแง่ดีอยู่ในระดับสูง แต่ผลการทดสอบ ความถนัดทางการขาย ปกตินั้น ไม่ผ่าน เปรียบเทียบกับ นักขายอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีผล การทดสอบตรงกันข้าม พบว่า ในกลุ่มแรก สามารถทำ สถิติการขาย ในปีแรกได้มากกว่าร้อยละ 21 และในปีที่สองทำได้มากกว่าร้อยละ 57
ความเห็นอกเห็นใจ องค์ประกอบนี้ หมายถึง ความสามารถที่เอาใจเขามาใส่ใจเราตระหนักรู้ถึงสิ่งที่คนอื่นกำลังรู้สึก โดยไม่จำเป็นต้องมาบอกให้ทราบ ซึ่งคนส่วนมากไม่เคยบอกเราให้ทราบถึงสิ่งที่เขารู้สึกในคำพูด นอกจากน้ำเสียง ภาษาท่าทาง และการแสดงออกทางสีหน้า ปัจจัยส่วนนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากความตระหนักรู้ตนเองที่กำลัง ทำให้เหมาะกับ อารมณ์ของตนเอง ซึ่งทำให้ง่ายต่อการที่จะอ่านและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้
5. ทักษะทางสังคม จัดเป็น ความสามารถ ที่จะเกี่ยวดองกับผู้อื่น เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ในทางบวก ตอบสนองต่ออารมณ์ ของผู้อื่นและมี อิทธิพลต่อผู้อื่น ผู้นำสามารถที่จะใช้ ทักษะทางสังคม นี้เพื่อจะเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล จัดการความไม่ลงรอย แก้ไข ข้อขัดแย้งและประสานผู้คนเข้าด้วยกัน เพื่อเป้าประสงค์ ความสามารถ ที่จะ สร้างความสัมพันธ์ นับว่าเป็น สิ่งจำเป็นใน องค์กรสมัยใหม่ ที่ยึด การทำงานเป็นคณะ และมีความสำคัญต่อผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในทุก ๆ องค์กรด้วย ลักษณะเช่นนี้ สอดคล้องกับ นักการปกครองชั้นสูง ของไทยที่กล่าวย้ำว่า การสร้างความสัมพันธ์ อย่างแนบแน่นกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยตรงควรต้องกระทำอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะ การทำงาน ที่จำเป็น ต้อง อาศัย ความร่วมมือ จาก ข้าราชการ หรือพนักงาน ทุกฝ่าย ข้าราชการ ฝ่ายปกครองหรือ ผู้บริหาร ก็จะต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันไว้ด้วย ทั้งที่เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยตรงและหน่วยข้างเคียง นักการปกครอง ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ก็เพราะได้รับความร่วมมือด้วยดี มาโดยตลอดโดยใช้ หลักมนุษยสัมพันธ์ ที่ดีช่วยในการประสานงานให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งโดย แท้ที่จริงแล้วมนุษย์มีการประสานงานกันอยู่ตามธรรมชาติ ความร่วมมือนั้นเกิดจากความร่วมใจ เต็มใจในการทำงานที่ต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมรับผิดชอบ

E.Q. กับการทำงาน
โดยมากแล้วความสำเร็จในการทำงาน โดยเฉพาะงานบริหาร หรือการทำธุรกิจ นอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความสามารถ ของตนแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้อื่นด้วย ชีวิตการงานจะสดใสแน่นอน หากมี “นายดึง ลูกน้องดัน และคนเสมอกันนิยม”
ไวซิงเกอร์ (Weisinger, 1998) ได้กำหนดการใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนา สายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น (Interpersonal Emotional Intelligence) ซึ่งประกอบจากการพัฒนาทักษะ สื่อสารที่ดี ความเก่งคน และการช่วยเหลือผู้อื่นให้ช่วยตัวเขาเองได้ ไวซิงเกอร์เชื่อว่า การใช้ E.Q. เพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในการทำงานได้นั้น จะต้องรับรู้ ตีความ และแสดงภาวะอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง มีความสามารถในการใช้ภาวะอารมณ์นั้น ๆ ต่อตนเอง ผู้ร่วมงาน และมีการเรียนรู้ ตลอดจนเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับ นอกจากนี้ต้องสามารถ ควบคุมอารมณ์และเอาชนะสร้างพฤติกรรมในทางบวก
โบราณของไทย เราสอนลูกหลานในเรื่อง ความสำเร็จในการทำงานว่า ต้อง “ฉลาดรู้ ฉลาดทำ ฉลาดพูด และฉลาดใช้” กล่าวคือ ในเรื่องขอความฉลาดรู้นั้น บุคคลผู้หวังความสำเร็จในการทำงาน นอกจากจะฉลาดรู้ในกระบวนการทำงานแล้ว ยังต้องฉลาดรู้ในอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ตำราพิชัยสงครามโบราณของจีนเขียนโดย ซุนวู ก็กล่าวถึง การฉลาดรู้ อย่างกระชับครบถ้วนในความ และสละสลวยชวนฟังว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
ความฉลาดทำ หรือ ความมีศิลปะ เป็นเรื่องของการ “ทำเป็น” ไม่ใช่ เพียงแค่ “ทำได้” เท่านั้น คนที่ฉลาดทำการช่างต่าง ๆ อาจไม่ฉลาดพูด หรือ ฉลาดคิด (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญทางสังคมของ E.Q.) การฉลาดพูด คือ การที่รู้จักเลือกพูดแต่สิ่งที่ดี ที่มีประโยชน์ สามารถยกใจของผู้พูดและผู้ฟังให้สูงขึ้น โบราณไทยมีคติให้ไว้มากมายในเรื่องของการฉลาดพูด เช่น “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย” “จะได้ดีก็เพราะปาก จะได้ยากก็เพราะคำ” “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วเป็นตรา” “อันอ้อยตาลหวานลิ้นยังสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหู ไม่รู้หาย” และ ฯลฯ ความฉลาดคิดนั้นเป็นความฉลาดทางใจ ซึ่งต้องมีสติสัมปชัญญะ สามารถควบคุม ความคิดให้ไปในทางที่ดี คิดในทางที่สร้างสรรค์ คิดที่จะยกจิตใจของตนและผู้ร่วมงานให้สูงขึ้น ปู่ ย่า ตา ยาย ของไทยในอดีตได้ฝากหลักคิดทั้งฉลาดพูดและฉลาดคิดให้เราอย่าง น่าฟังว่า “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา”
แม้จะฉลาดรู้ ฉลาดทำ ฉลาดพูด และฉลาดคิด หากใช้คนไม่เป็นหรือวางตำแหน่งของคนไม่ถูกกับงานนั้น หรือองค์กรนั้น ๆ ก็จะทำงานสัมฤทธิ์ผลได้ไม่เต็มกำลัง ความสามารถที่ควรจะได้รับหรือควรจะเป็น ดังที่ทราบกันดีใน การบริหารสมัยใหม่ ว่าต้องจัด “The right man for the right job at the right time and right actions” โบราณไทยเราให้ยึดหลัก สัปปุริสธรรม หรือธรรมของสัตตบุรุษ คือความเป็นผู้รู้เหตุ รู้ผล รู้จักประมาณ (ซึ่งเป็น right actions) รู้จักตน รู้จักชุมชน (ได้แก่ รู้จักสังคม วัฒนธรรม และสังคม ซึ่งเป็นหลักการเลือก the right man for the right job) รู้จักกาล (ซึ่งคือ the right time นั่นเอง)
E.Q. กับภาวะผู้นำ
ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วย ฝีมือของมนุษย์เพื่อยังประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติด้วยกัน ดังเช่น เมื่อไม่นานมานี้เองที่นักวิจัยศึกษาพบว่า ความสามารถของมนุษย์นั้น เกาะติดอยู่กับขุมศักยภาพ ที่มีอยู่ในหัวใจ และจิตใจของบุคคล งานวิจัยอันโดดเด่นนั้น ได้แก่ งานเขียนของ แดเนียล โกลแมน ผู้เขียนเรื่อง Emotional Intelligence (หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า E.I.) และโรเบิร์ต คูเปอร์ เจ้าของเรื่อง Executive E.Q. ทั้งสองท่านต่างเน้นไปที่ ธรรมชาติทางอารมณ์ของการเป็นมนุษย์ซึ่งจัดว่า เป็นมโนทัศน์ (Concept) อันสำคัญยิ่งเกี่ยวกับ EI (หรือ E.Q.) ซึ่งตรงกันข้ามกับมโนทัศน์ทางสติปัญญา (I.Q. หรือ Intellectual Quotient) ตลอดจน ความสามารถเชิงเหตุผล ของเอกัตบุคคล หากว่าทั้ง E.Q. และ I.Q. ได้เข้ามาผสมผสานกัน จะก่อให้เกิด พลังความสามารถ และศักยภาพ ทั้งทางอารมณ์กับสติปัญญา ผลการศึกษาต่าง ๆ ชี้แนะว่า E.Q. ต่างหากที่เป็น พื้นฐานอันสำคัญ เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด (ไม่ใช่เพียงลำพัง I.Q. หรือพลังสมองเท่านั้น เพื่อองค์กรส่วนมากที่ไม่หยุดนิ่ง เพื่อการดำรงอยู่อัน เป็นที่น่าสนใจ และมีความสำคัญ
สารสนเทศใหม่ ๆ ดังกล่าวนั้นย่อมจะท้าทายผู้นำองค์กรให้ต้องขบคิดว่า E.Q. น่าจะมีผลกระทบใดบ้าง ต่อภายในที่ทำงานของตน และจะควบคุม E.Q. ให้ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน องค์กรที่ตนดูแลอยู่ได้เพียงใด ในเมื่อผลของการศึกษาชี้ว่า อารมณ์นั้นสามารถขับดันหลายสิ่งได้ ทั้งความไว้วางใจ ความภักดี พันธกิจ การเพิ่มผลผลิต และสัมฤทธิผลของ เอกัตบุคคล คณะทำงาน ตลอดจนองค์กร
ผู้นำกับ E.Q. เกี่ยวข้องกันเพียงใด
อดีตประธานบริษัทซักแห้งและซักรีดแห่งหนึ่งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ยกให้เรื่องของอารมณ์ เป็นความสำคัญระดับสูง ในการดำเนินงานธุรกิจของเขาเอง ซึ่งพบว่าเมื่อผู้คน ตกอยู่ในอารมณ์เครียด หรือคับข้องใจ จะเป็นการยาก ที่จะให้ได้ปัจจัยป้อนเข้า (Input) จาก พวกเขาแม้กระทั่งผลผลิตใด ๆ อาจได้คุณภาพแต่จะไม่ได้ในแง่ปริมาณ เมื่อไม่นานมานี้ นักจิตวิทยาและนักวิจัยคนอื่น ๆ ได้เสริมความเข้าใจ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ความเข้าใจเชิงอารมณ์ และทักษะนับว่า มีผลกระทบต่อความสำเร็จ และความสุขในการทำงานพอ ๆ กับในชีวิตส่วนตัว ผู้นำย่อมมีบทบาทที่จะยอมรับ ควบคุมเกี่ยวกับ อำนาจทางอารมณ์ เพื่อการแก้ไขปรับปรุง ความพอใจ ขวัญ และแรงจูงใจของผู้ตามได้พอ ๆ กับการส่งเสริมประสิทธิผลขององค์กรทีเดียว
สมัยก่อนมีมีความเข้าใจว่า เชาวน์ปัญญา (IQ) เป็นปัจจัยทำให้คนเก่ง ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงต้องการให้ลูกมี IQ ดี เรียน หนังสือเก่ง จึงคงเร่งรัดอย่างมากจนทำให้เด็กเครียด จะเห็นได้จากข่าวที่ว่า นักศึกษาหญิง ธรรมศาสตร์ ปี ๔ กระโดดตึกตาย เพราะตนเองเป็นคนเรียนดี แต่ทำข้อสอบวิชาหนึ่งไม่ได้ และกลัวว่าจะเรียนไม่จบ หรือนักศึกษาแพทย์ที่ยังไม่ทันจบแพทย์ ก็กลายเป็นนักโทษเพราะไป ฆ่าชำแหละศพคนรักตนเอง ทำให้นักจิตวิทยาเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อความเชื่อดังกล่าว เพราะไม่ เชื่อว่าความสำเร็จและความสุขในชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเชาวน์ ปัญญา (IQ) แต่เพียงอย่างเดียว จึงทำการศึกษาค้นคว้าและปัจจุบัน ความเห็นว่าความสำเร็จ ในชีวิตของคนเราขึ้นอยู่กับเชาวน์ปัญญา มีเพียง ๒๐ % อีก ๘๐% เป็นปัจจัยอื่น ๆ ที่รวมเรียก ว่า ความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์คืออะไร
ความฉลาดทางอารมณ์หรือเชาวน์อารมณ์ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Emotional Quotient หรือ EQ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ได้รับ ความสนใจจาก นักการศึกษาและนักจิตวิทยาอย่างมาก ใน ค.ศ. ๑๙๙๐ Peter Salovey และ John Mayer กล่าวถึงความฉลาดทางอารมณ์ว่า เป็นรูปแบบ หนึ่งของความฉลาดทางสังคม ที่ประกอบด้วยความสามารถในการรู้อารมณ์และความรู้สึกของ ตนเองและผู้อื่น สามารถแยก ความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้นและใช้อข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้ นำในการคิดและการทำสิ่งต่าง ๆ
ต่อมา Danial Goleman (ค.ศ.๑๙๙๕) ได้เขียนหนังสือเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และกล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความฉลาดที่เกิดจาก การประสานงานระหว่างอารมณ์ (Emotional) กับเหตุผล (Rational) หรือ การทำงานของ จิตใจ (Heart) กับสมอง (Head) ประกอบด้วย ความสามารถในการควบคุมตนเอง การมีใจ จดจ่อและความเพียร และความสามารถจูงใจตนเอง
สำหรับประเทศไทย กรมสุขภาพจิตได้ให้ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์ว่า ประกอบด้วย เก่ง ดี มีความสุข
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและ แสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยความสามารถ ต่อไปนี้
๑. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
- รู้ศักยภาพตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย
๒. ตัดสินและแก้ปัญหา
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
- มีความยืดหยุ่น
๓. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความเห็นที่ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองรู้จักเห็นใจ ผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้
๑. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
- แสดงออกอย่างเหมาะสม
๒. เห็นใจผู้อื่น
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจและยอมรับผู้อื่น
- แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม
๓. รับผิดชอบ
- รู้จักให้ / รู้จักรับ
- รับผิด/ให้อภัย
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประกอบด้วย
๑. ภูมิใจในตนเอง
- เห็นคุณค่าตนเอง
- เชื่อมั่นใจตนเอง
๒. พึงพอใจในชีวิต
- มองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
๓. มีความสงบทางใจ
- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
- รู้จักผ่อนคลาย
- มีความสงบทางจิตใจ
EQ มีผลต่อเราอย่างไร
ความฉลาดทางอารมณ์มีประโยชน์ต่อชีวิตคนเราอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งอาจแบ่งเป็น ๓ ด้าน คือ
- ประโยชน์ต่อตนเอง
- ประโยชน์ต่อความรักและครอบครัว
- ประโยชน์ต่อการทำงาน
การใช้ความฉลาดทางอารมณ์กับตนเอง
โกลแมนได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ ในหมวดสมรรถนะส่วนบุคคลใน การบริหารจัดการกับตนเองว่ามีองค์ประกอบ ๓ อย่างคือ
การตระหนักรู้ตนเอง หมายถึง การตระหนักรู้ความรู้สึกโน้มเอียงของตนเองและหยั่งรู้ ความเป็นไปได้ของตน รวมทั้งความพร้อมของตนในแง่ต่าง ๆ กล่าวคือ รู้เท่าทันในอารมณ์ตน สาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกนั้น ๆ และผลที่ตามมา ประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง รู้จุด เด่น จุดด้อยของตนเอง
การควบคุมตนเอง หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกของตนเอง สามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเอง สามารถจัดการกับภาวะอารมณ์หรือความฉุนเฉียวได้ รักษาความเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์และคุณงามความดี มีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่นใน การจัดการกับความเปลี่ยนแปลง สามารถสร้างสิ่งใหม่ มีความสุขและเปิดกว้างกับความคิดข้อ ใหม่ ๆ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
การสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง หมายถึงแนวโน้มของอารมณ์ที่เป็นปัจจัยสู่เป้าหมาย เป็น ความพยายามที่จะปรับปรุง หรือมีแรงบันดาลใจให้ได้มาตรฐานที่ดีเลิศ มีความคิดริเริ่ม พร้อม ที่จะปฏิบัติตามโอกาสที่อำนวย มีการมองโลกในแง่ดี แม้มีปัญหาอุปสรรค ก็มิได้ล้มความตั้งใจ ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ไม่เพียงแต่รู้ว่ามีคุณสมบัติที่พึงประสงค์สำหรับตนเองเท่า นั้น แต่ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมตามความสามารถที่มีอยู่ด้วย
ที่จริงแล้วการตระหนักรู้ตนเอง การควบคุมตนเอง และการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้กับ ตนเองตามทัศนะของนักวิชาการตะวันตก อาจนำมาประยุกต์เข้ากับธรรมะในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่อธิบายกันคนละอย่าง เช่น การมีสติ คือ การระลึกได้ เตือนตน เอง ตระหนักรู้ตนเองได้ ส่วนสัมปชัญญะ เป็นธรรมที่เป็นปัจจัยในการตระหนักรู้ตนเอง ควบคุม และสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ปราชญ์ไทยท่านหนึ่งผูกเรื่องการตระหนักรู้ตนเอง การควบคุมตน เองและการสร้างแรงจูงใจไว้เป็นคำกลอนน่าฟังว่า
"จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน
อ่าแชเชือนเตือนตนให้พ้นภัย"

การใช้ความฉลาดทางอารมณ์กับครอบครัว
ปัญหาในครอบครัวที่จะนำไปสู่ความแตกแยก ล้วนมีรากฐานมาจากการขาดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน สามีไม่เข้าใจภรรยา ภรรยาไม่เข้าใจสามี พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก หรืออาจกล่าวได้ว่า สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจกัน ดังนั้น การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว จึงเป็นเรื่องของการ "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" โดยตระหนักถึงความรู้สึก ความต้องการ ความ ห่วงใยต่อสมาชิกในครอบครัว
ทัศนะเกี่ยวกับการใช้ความฉลาดทางอารมณ์ (Goleman ค.ศ.๑๙๙๘) ในเรื่องการสร้าง และรักษาสัมพันธภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ

- การเข้าใจและรู้สึก มุมมองสนใจในสิ่งที่กังวลของคนในครอบครัว
- การมีจิตใจรับรู้และตอบสนองความต้องการของคนในครอบครัวได้ดี
- การทราบความต้องการและพัฒนาสมาชิกในครอบครัว ส่งเสริมความรู้ ความสามารถ ให้ถูกต้อง
ในยุคปัจจุบันของสังคมไทย ปัญหาเศรษฐกิจนับเป็นต้นเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดภาวะ เครียดของคนในหลายครอบครัว กลยุทธ์การบริหารความเครียดตามกรอบความคิดของความ ฉลาดทางอารมณ์ของบาร์ออน เกี่ยวกับการควบคุมและจัดการกับความเครียด สามาถนำมาใช้ ได้โดยชี้นำให้สมาชิกในครอบครัวมองโลกในแง่ดี สร้างความสนุกสนานให้เกิดขึ้นแก่คนใน ครอบครัว
ไทยโบราณเรายึดหลักการให้ชีวิตครอบครัวมีความสุขด้วยหลักสังคหะ แปลว่าการ สงเคราะห์กันและให้ปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ ๔ เพื่อเป็นการยึดน้ำใจซึ่งกันและกันของ สมาชิกในครอบครัวดังนี้
๑. ทาน การให้ปันแก่กัน คนที่อยู่ด้วยกันก็ต้องปันกันกิน ปันกันใช้ การปันนี้รวมถึงการ ปันทุกข์ให้กันด้วย ผู้ใดในครอบครัวมีทุกข์มีปัญหา โดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วย ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวก็ควรจะปรึกษาหารือกัน
๒. ปิยวาจา พูดกันด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ ผู้ใหญ่มักให้โอวาทแก่คู่บ่าวสาวในวันแต่งงาน โดยถือหลักในการพูดกันว่า ก่อนแต่งเคยพูดไพเราะอย่างไร ก็ให้พูดด้วยถ้อยคำไพเราะ เช่นนั้นในการครองชีวิต ในครอบครัวการพูดกัน ด้วยถ้อยคำไพเราะ จะทำให้ผู้รับฟัง เกิดความพอใจหรือสบายใจขึ้นจากอารมณ์ที่ขุ่นมัวได้
๓. อัตถจริยา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อกัน เมื่อมี สมาชิกในครอบครัวผู้หนึ่งผู้ใด ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ควรแนะนำตักเตือนกัน
๔. สมานัตตตา วางตัวให้เหมาะสมกับที่ควรเป็นตามบทบาทของ การเป็นพ่อแม่ลูกหรือ สมาชิกญาติพี่น้องในครอบครัว ถ้าสมาชิกในบ้านต่างวางตัวได้เหมาะสมตามบทบาท และหน้าที่ ความผาสุกย่อมเกิดขึ้นในครอบครัว
จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอีคิวอยู่ในระดับไหน
การที่จะบอกว่าควรมีอิคิวสูงหรือไม่อย่างไร อาจทำได้โดยการประเมินความสามารถ ใน ด้านต่าง ๆ อาทิ การควบคุมตนเอง การเห็นใจผู้อื่น การรับผิดชอบการสร้างแรงจูงใจการตัดสิน ใจการแก้ปัญหา การภูมิใจในตนเอง การพอใจในชีวิตเป็นต้น
เราสามารถประเมินความฉลาดทางอารมณ์ได้ โดยการตอบแบบประเมินตามความเป็น จริงส่วนผลคะแนนที่ได้ ไม่ใช่การตัดสินที่ตายตัว แต่เป็นเพียงการประเมินโดยสังเขปเพื่อให้ เราใช้ เป็นแนวทางในการเรียนรู้ข้อบกพร่องของตนเองในแต่ละด้านและนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงให้ดี ขึ้นต่อไป
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สงสัยว่าตนเองมีระดับความฉลาดทาอารมณ์เป็นอย่างไร ก็สามารถ หาคำตอบ เพื่อเป็นข้อเตือนใจได้จากแบบประเมิน จากภาควิชากการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ หรือกรมสุขภาพจิต
สรุป
ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน คนที่มี ความฉลาดทางอารมณ์สูง จะเป็นคนที่สามารถรับรู้ เข้าใจและจัดการกับความรู้สึกของ ตนเองได้ดี รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น จึงมักประสบความสำเร็จในการทำงาน มีความ พึงพอใจในชีวิตสามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้เสมอตรงกันข้ามกับคน ที่ไม่สามารถ ควบคุม อารมณ์ได้ มักจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจ พลอยทำให้ขาดสมาธิในการ ทำงาน และ มีความคิดหมกมุ่น กังวลไม่ปลอดโปร่ง เกิดปัญหากับบุคคลรอบข้างได้ ดังนั้น การ พัฒนาให้ ประชาชนมีความฉลาดวทางอารมณ์สูงจะมีประโยชน์ต่อตนเอง และประเทศชาติ ต่อไป

เอกสารอ้างอิง
กรมสุขภาพจิต. คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด,๒๕๔๓.
กรมสุขภาพจิต. "สุขภาพจิตดีด้วยอีคิว." เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปีวิลา สลักษณ์ ชีววัลลี. รวมบทความทางวิชาการ EQ : การพัฒนาสติปัญญาทางอารมณ์ เพื่อความ สำเร็จในการทำงาน.๒๕๔๓.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. เชาวน์อารมณ์ EQ ดัชนีความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, ๒๕๔๓.

ประสบความสำเร็จในชีวิตด้วย EQ
ปัจจุบันได้มีการกล่าวกันมากถึงคำว่า Emotional Quotient (EQ) ซึ่งเป็นทักษะให้การบริหารจัดการตัวเราเอง และทักษะในการ ทำงานร่วมกับ บุคคลอื่นๆ นับว่าสำคัญมากต่อความสำเร็จในการบริหารธุรกิจ รวมถึงเป็นเคล็ดลับต่อความสุข และความสำเร็จในชีวิต ประจำวัน

คำว่า EQ เป็นคำศัพท์ค่อนข้างใหม่ โดยยังไม่มีคำศัพท์บัญญัติเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ จึงเรียกกันในภาษาไทยอย่างหลากหลาย เช่น เชาวน์อารมณ์ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความสติปัญญาทางอารมณ์ ฉลาดทางอารมณ์ ฯลฯ

ความสนใจใน EQ เริ่มต้นเมื่อปี 2533โดยนายปีเตอร์ ซาโลเวย์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล และนายจอห์น เมเยอร์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ ได้ร่วมกันเขียนเอกสารเพื่อบรรยายคุณลักษณะความฉลาดทางอารมณ์อันนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต

เริ่มแรกคำว่า EQ รู้จักกันในหมู่นักจิตวิทยาเท่านั้น สำหรับบุคคลสำคัญที่ทำให้คำนี้กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือ ดร. แดเนียล โกลแมน ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเป็นนักเขียนชื่อดังของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เขาได้เขียนหนังสือชื่อ Emotional Intelligence ขึ้นเมื่อปี 2538 โดยพยายามนำเรื่อง EQ ซึ่งเดิมเป็นทฤษฎีในด้านจิตวิทยา มาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับประชาชนทั่วไป ทำให้หนังสือเล่มนี้ขายดีแบบเทน้ำเทท่า

ดร.โกลแมน ได้จำแนก EQ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก ทักษะในด้านบริหารจัดการตนเอง (Self-Management Skills) เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะรู้จักตัวเราเองทั้งในส่วนจุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีคุณธรรม ความขยันขันแข็ง และมุ่งมั่นใน การทำงาน การคิดในแง่บวก (Positive Thinking) ไม่ท้อถอยเมื่อเผชิญกับอุปสรรค

กลุ่มที่สอง ทักษะในด้านบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (Relationship Skills) คนเราไม่สามารถอยู่ได้คนเดียวในโลก โดยต้อง เกี่ยวพัน กับบุคคลอีกมากมายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ดังนั้น ทักษะในการบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น จึงนับว่าสำคัญต่อ การดำรงชีวิตเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจบุคคลอื่น ทักษะในการเข้าสังคม ความระมัดระวัง ในการใช้คำพูด การรู้กาลเทศะว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ ทักษะในการสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ รวมถึงความสามารถที่จะโน้มน้าวให้บุคคลอื่นคล้อยตามความคิดเห็นของตนเอง ฯลฯ

ทักษะในการบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ได้หมายความว่างานการไม่ทำ ชอบเข้าสังคมอยู่ตลอดเวลา ตรงกันข้าม การเข้าสังคมไม่ได้ เป็นเป้าหมายในตัวเอง โดยเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายให้งานประสบผลสำเร็จเท่านั้น ซึ่งเราไม่สามารถทำงานใหญ่ ให้ประสบผลสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือของบุคคลอื่น

ผู้เชี่ยวชาญได้เคยทำการทดสอบในสหรัฐฯ พบว่าโดยปกติแล้วผู้ชายและผู้หญิงมีทักษะในด้านบริหารจัดการตนเองพอๆ กัน แต่สำหรับทักษะในด้านบริหารปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแล้ว โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีทักษะสูงกว่าผู้ชายค่อนข้างมาก เนื่องจากมีบุคลิก ชอบเข้าสังคมมากกว่า ทำให้มีโอกาสฝึกฝนทักษะในด้านนี้มากกว่าผู้ชาย

ความจริงแล้ว EQ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร มนุษย์เราเห็นความสำคัญมาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยหลักธรรมคำสอน ของ พุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึง EQ เช่นเดียวกัน โดยในส่วน Self-Management Skills นั้น นับว่าใกล้เคียงมากกับฆราวาสธรรม 4 อันเป็น หลักธรรมในการครองชีวิตของฆราวาสเพื่อให้เกิดความดีงาม เกิดความสำเร็จ และสงบสุข ประกอบด้วย

1. สัจจะ คือ ความซื่อตรง จริงใจ พูดจริง ทำจริง
2. ทมะ คือ การฝึกนิสัย ปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
3. ขันติ คือ ความอดทน ตั้งใจทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่หวั่นไหว มั่นใจในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ คือ ความเสียสละ ยอมสละกิเลส ความสุขสบาย และผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่คับแคบเห็นแต่ประโยชน์ของตนเอง ไม่เอาแต่ใจตัว

ขณะที่ EQ ในส่วนเกี่ยวกับ Relationship Skills นับว่าสอดคล้องกับพรหมวิหาร 4 อันเป็นหลักธรรมเกี่ยวกับความประพฤติที่ประเสริฐ ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นโดยชอบ ประกอบด้วย

1. เมตตา คือ รักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข มีจิตใจแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์ต่อผู้อื่น
2. กรุณา คือ คิดช่วยเหลือให้คนอื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
4. อุเบกขา คือ ความว่างและวางใจเป็นกลาง

นักปราชญ์ของชาติตะวันตกก็ได้กล่าวถึง EQ มาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า Publilius Syrus ได้เคยว่า “จะต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง มิฉะนั้นอารมณ์จะควบคุมตัวท่าน”

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า EQ สำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนกับ Intelligence Quotient (IQ) หรือความฉลาดทางสติปัญญา บางคนถึงกับเห็นว่า EQ สำคัญกว่า IQ ด้วยซ้ำ โดยเรามีคำพังเพยเกี่ยวกับบุคคลที่มี IQ สูง แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตว่า “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”

กรณีเป็นคนฉลาดหลักแหลมนั้น หากไม่มี EQ เสียแล้ว ก็จะประสบปัญหามากมาย เป็นต้นว่า ขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา ไม่กินเส้น กับคนอื่น เกียจคร้านในการทำงาน มีพฤติกรรมต่อต้านองค์กร มีทัศนคติในแง่ลบอยู่เสมอว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น ชอบปล่อยข่าวลือไร้สาระ ฯลฯ ในที่สุดก็จะกลายเป็นตัวสร้าง ปัญหาขององค์กร และจะต้องถูกเชิญออกไป ทำงานที่บริษัทอื่น

ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปเท่าใด ความสำคัญของ EQ เมื่อเปรียบเทียบกับ IQ ยิ่งมากขึ้นไปเท่าใด ดังนั้น จึงมีการกล่าวกันว่า IQ ทำให้คุณได้รับการจ้างงาน ส่วน EQ ทำให้คุณได้เลื่อนตำแหน่ง โดยในอดีตที่ผ่านมาได้เคยมีการวิจัยในสหรัฐฯ ว่าทำไมนักบริหารจำนวนมากซึ่งเดิมเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไป ระดับหนึ่งแล้ว กลับล้มเหลวในการบริหารงาน

การศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญที่เปลี่ยนจากดาวรุ่งเป็นดาวร่วงนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากจุดบกพร่อง เกี่ยวกับความสามารถในเชิงเทคนิค แต่อย่างใด แต่เนื่องมาจากขาด EQ ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยขาดมนุษยสัมพันธ์ ไม่อาจควบคุมความคิด อารมณ์ การแสดงออกของตนเองอย่างเหมาะสม ทำให้มีบุคลิกเป็นเผด็จการ เอาแต่ใจตัวเอง บ้าอำนาจ หยิ่งจองหอง มองเห็นบุคคลอื่นโง่ไปหมด ทำให้คนอื่นไม่อยากเข้าใกล้

ขณะเดียวกันเคล็ดลับของความสำเร็จทางธุรกิจประการหนึ่ง คือ การว่าจ้างบุคคลที่มี EQ สูงมาเป็นพนักงาน โดยนายพลโคลิน เพาเวล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ มักจะกล่าวเสมอๆ ว่าทัศนคติเชิงบวกของบุคลากร มีความสำคัญมากกว่าความรู้ ทั้งนี้ หากบริษัทว่าจ้างบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกมาเป็นพนักงาน โดยเฉพาะพนักงาน ที่ทำหน้าที่ ติดต่อลูกค้าแล้ว คุณภาพของบริการย่อมเพิ่มขึ้น สร้างความประทับใจต่อลูกค้า ทำให้ครองใจลูกค้า และเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทในที่สุด

ปัจจุบันสถาบันการศึกษาก็หันมาสนใจในด้านพัฒนา EQ ให้กับนักศึกษา จากเดิมที่เป็นการเรียนแบบท่องจำ ซึ่งมุ่งเน้นเพิ่ม IQ แต่เพียงอย่างเดียว ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ให้นักศึกษามีโอกาสพูดและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันเองเพื่อฝึกฝน EQ พร้อมกันไปด้วย

เราหันมาวิเคราะห์ผู้นำทางการเมืองดูบ้าง ศจ. Fred Greenstein แห่งมหาวิทยาลัยพรินตันของสหรัฐฯ ได้วิเคราะห์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอดีต 11 คน ตั้งแต่ประธานาธิบดีรุสเวลท์ถึงคลินตัน พบว่าโดยภาพรวมแล้วสอบผ่านได้คะแนน EQ ดีเยี่ยมเพียง 3 คนเท่านั้น คือ ไอเซนฮาวร์ ฟอร์ด และบุช (ผู้พ่อ)

การศึกษาพบว่าประธานาธิบดีนิกสันแม้มี IQ สูง มีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมากในด้านยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ แต่กลับล้มเหลวต้องลาออกจากตำแหน่งจากกรณีอื้อฉาวคดีวอเตอร์เกตเนื่องจากมีจุดอ่อนสำคัญ คือ มี EQ ค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถ ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ โดยมักโกรธ วิตกกังวล และหวาดระแวงบุคคลรอบข้าง

ส่วนเคนเนดี้และคลินตันนั้น แม้ EQ นับว่าดีมากในแง่วาทศิลป์ในการโน้มน้าวความคิดเห็นของคนอื่นและความมีเสน่ห์ แต่มีจุดอ่อน ด้าน EQ เช่นเดียวกัน คือ เป็นคนเจ้าชู้ ไม่สามารถหักห้ามจิตใจตนเองได้ จึงเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ทางลบ ให้ตนเองเป็นอย่างมาก

ขณะที่ไอเซนฮาวร์มีบุคลิกความเป็นผู้นำโดดเด่นมาก สามารถบังคับบัญชาให้บุคลากรทำงานเป็นทีมเป็นอย่างดี แตกต่างจาก ประธานาธิบดีคนอื่นๆ ซึ่งลูกน้องมักขัดแย้งกินเกาเหลากันเองไม่มากก็น้อย ส่วนประธานาธิบดีบุช (ผู้พ่อ) ก็มี EQ ค่อนข้างสูง เช่นเดียวกัน โดยมีจุดเด่น คือ เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลอื่น สุภาพเรียบร้อย และสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี

สุดท้ายนี้ หากเราทดสอบพบว่ามีค่า EQ ต่ำ ก็อย่าเสียกำลังใจ เพราะ EQ เป็นสิ่งที่เรียนรู้และพัฒนาขึ้นไม่ยากนัก สามารถพัฒนา ได้จนถึงวัยสูงอายุ โดยเราจะสังเกตว่าบางคนเมื่ออ่อนวัยจะมี EQ ต่ำ มีจิตใจหุนหันพลันแล่น พออายุมากขึ้น กลับมี EQ หรือวุฒิภาวะ เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ นับว่าแตกต่างจากกรณี IQ ซึ่งมีโอกาสพัฒนา ให้ดีขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภายหลังเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ผู้จัดการออนไลน์ - Manager Online (http://www.manager.co.th)

ที่มา http://www.novabizz.com/NovaAce/EQ.htm

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learnin

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learnin
1. ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning)
Cooperative and Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structure โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative Learning


Nagata and Ronkowski (1998) ได้สรุปเปรียบว่า Collaborative Learning เป็นเสมือนร่มใหญ่ที่รวมรูปแบบหลากหลายของ Cooperative Learning จากกลุ่มโครงการเล็กสู่รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มการทำงานที่เรียก ว่า Cooperative Learning กล่าวได้ว่า Cooperative Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของ Collaborative Learning ที่ได้ถูกพัฒนาโดย Johnson and Johnson (1960) และ ยังคงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน




Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึง การช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ ด้วย


Penn State University College of Education (2004) ได้ให้คำจำกัดความของ Collaborative Learning ว่ามีคุณลักษณะของการแบ่งปัน เข้าใจเป้าหมาย มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นและมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการติดต่อสื่อสารในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการตัดสินใจจากการลงความเห็นร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เอื้ออำนวยและชี้แนะให้ นักเรียนได้มองเห็นทางออกของปัญหานั้นๆ


Thirteen Organization (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning เป็นวิธีการหนึ่งของการสอนและการเรียนรู้ในทีมของนักเรียนด้วยกัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามหรือสร้างโครงการที่เต็มไปด้วยความหมาย ตัวอย่างเช่น การที่กลุ่มของนักเรียนได้มีการอภิปราย หรือการที่นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งปันงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนCooperative Learning เป็นการมุ่งเน้นโดยเบื้องต้นที่การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงรูปแบบของการร่วมมือ ซึ่งนักเรียนจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเล็กในโครงสร้างของกิจกรรม ทุกคนจะมีความรับผิดชอบในงานของพวกเขา โดยทุกคนสามารถเข้าใจถึงการทำงานเป็นกลุ่มเป็นอย่างดี และการทำงานกลุ่มแบบ Cooperative นั้นจะมีการทำงานในลักษณะเผชิญหน้า (Face – to –face) และเรียนรู้เพื่อทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นวิธีการ จัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอก จากนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
แหล่งที่มา http://supanida-opal.blogspot.com 

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
สมองกับการเรียนรู้
1.คนเราเกิดมาพร้อมกับจำนวนเซลสมองที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
2.การขยายตัวของสมองไม่ได้มาจากการเพิ่มจำนวนเซลของสมอง แต่มาจาก “ใยประสาท”
3.สมองมีความยืดหยุ่น หากเราใช้สมองในการแก้ไขปัญหา สมองก็จะมีการสร้างใยประสาทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้ใยประสาทก็จะถูกทำลายลงไป
4.อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ โดยอารมณ์จะเป็นตัวช่วยเราในการเรียกความทรงจำเดิมที่เก็บไว้ในสมอง
5.ภาวะของสมองที่เหมาะสมที่สุดต่อการเรียนรู้ว่า ความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness)
6.การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
7.เราจะจำสิ่งต่าง ๆ ได้แม่นยำที่สุดเมื่อข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะฝังอยู่ในจากกิจกรรมในชีวิตจริงตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดความจำการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์
8.เราเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นโดยการปฏิบัติ หรือการฝึกทำ
9.สมองซีกซ้าย คือ ตรรกะ ตัวเลข การวิเคราะห์
10.สมองซีกขวา สั่งการเกี่ยวกับ ศิลปะ ดนตรี จินตนาการ การสังเคราะห์

พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
- การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ

2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
- การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
- การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง
- การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ
3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง
- การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณที่มา http://l-theory-g6.blogspot.com/

หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange)

หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange)


โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่

1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)



โดยในแต่ประการจะมีรายละเอียด ดังนี้
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์
จึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากเร่งเร้าความสนใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะศึกษาเนื้อหาต่อไปในตัวอีกด้วย
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว จะยังเป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหา
ในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากจะมีผลดังกล่าวแล้ว ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า ผู้เรียนที่ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนก่อนเรียนบทเรียน จะสามารถจำและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ของผู้เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเนื้อหาใหม่ นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐานแล้ว บทเรียนบางเรื่องอาจใช้ผลจากการทดสอบก่อนบทเรียนมาเป็นเกณฑ์จัดระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป หากเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบทเรียนที่เรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวนความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลัง
ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้ การกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความเหมาะสม ปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอเนื้อหาเรื่องการต่อตัวต้านทานแบบผสม ถ้าผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจวิธีการหาความต้านทานรวม กรณีนี้ควรจะมีวิธีการวัดความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ามีความเข้าใจเพียงพอ
ที่จะคำนวณหาค่าต่างๆ ในแบบผสมหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบก่อน ถ้าพบว่าผู้เรียนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ บทเรียนต้องชี้แนะให้ผู้เรียนกลับไปศึกษาเรื่องการต่อตัวต้านทาน
แบบอนุกรมและแบบขนานก่อน หรืออาจนำเสนอบทเรียนย่อยเพิ่มเติมเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการทบทวนก่อนก็ได้
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) หลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว โดยหลักการที่ว่า ภาพจะช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ง่ายต่อการรับรู้ แม้ในเนื้อหาบางช่วงจะมีความยากในการที่จะคิดสร้างภาพประกอบ แต่ก็ควรพิจารณาวิธีการต่างๆ ที่จะนำเสนอด้วยภาพให้ได้ แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าคำอธิบายเพียงคำเดียว อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบเนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลามากไปในการ
ปรากฏบนจอภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยาก และไม่เหมาะสมในเรื่องเทคนิคการออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน บางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่กระจ่างชัด (Meaningfull Learning) นั้น ทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือการที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม รวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขั้นนี้ก็คือ พยายามค้นหาเทคนิคในการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่ นอกจากนั้น ยังจะต้องพยายามหาวิถีทางที่จะทำให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียนนั้นมีความกระจ่างชัดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้นว่า การใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย ได้แก่ เทคนิคการให้ตัวอย่าง (Example) และตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวอย่าง (Non-example) อาจจะช่วยทำให้ผู้เรียนแยกแยะความแตกต่างและเข้าใจมโนคติของเนื้อหาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น

ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guided Discovery) ซึ่งหมายถึง การพยายามให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยๆ ชี้แนะจากจุดกว้างๆ และแคบลงๆ จนผู้เรียนหาคำตอบได้เอง นอกจากนั้น การใช้คำอธิบายกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ก็เป็นเทคนิคอีกประการหนึ่งที่สามารถ
นำไปใช้ในการชี้แนวทางการเรียนรู้ได้ สรุปแล้วในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องยึดหลักการจัดการเรียนรู้ จากสิ่งที่มีประสบการณ์เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ จากสิ่งที่ยากไปสู่สิ่งที่ง่ายกว่า ตามลำดับขั้น
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) นักการศึกษากล่าวว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับและขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว บทเรียนคอมพิวเตอร์ มีข้อได้เปรียบกว่าโสตทัศนูปการอื่นๆ เช่น วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เทปเสียง เป็นต้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้จัดเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ไม่ได้ (Non-interactive Media) แตกต่างจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เลือกกิจกรรม และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน กิจกรรมเหล่านี้เองที่ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อมีส่วนร่วม ก็มีส่วนคิดนำหรือติดตามบทเรียน ย่อมมีส่วนผูกประสานให้ความจำดีขึ้น
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ผลจากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจ
ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิกอาจมีผลเสียอยู่บ้างตรงที่ผู้เรียนอาจต้องการดูผล ว่าหากทำผิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างเช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนแบบแขวนคอสำหรับการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนอาจตอบโดยการกดแป้นพิมพ์ไปเรื่อยๆ
โดยไม่สนใจเนื้อหา เนื่องจากต้องการดูผลจากการแขวนคอ วิธีหลีกเลี่ยงก็คือ เปลี่ยนจากการนำเสนอภาพ ในทางบวก เช่น ภาพเล่นเรือเข้าหาฝั่ง ภาพขับยานสู่ดวงจันทร์ ภาพหนูเดินไปกินเนยแข็ง เป็นต้น ซึ่งจะไปถึงจุดหมายได้ด้วยการตอบถูกเท่านั้น หากตอบผิดจะไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าเป็นบทเรียนที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายระดับสูงหรือ
เนื้อหาที่มีความยาก การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยคำเขียนหรือกราฟจะเหมาะสมกว่า
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่ การทดสอบหลังบทเรียนจึงมีความจำเป็นสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกประเภท นอกจากจะเป็นการประเมินผลการเรียนรู้แล้ว การทดสอบยังมีผลต่อความคงทนในการจดจำเนื้อหาของผู้เรียนด้วย แบบทดสอบจึงควรถามแบบเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน ถ้าบทเรียนมีหลายหัวเรื่องย่อย อาจแยกแบบทดสอบออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหา โดยมีแบบทดสอบรวมหลังบทเรียนอีกชุดหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบบทเรียนต้องการแบบใด
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป


มศว เผยทฤษฏีใหม่

มศว เผยทฤษฏีใหม่
 "ใช้ประสบการณ์เสริมภาษา"ดีกว่าอ่านหนังสือ-ท่องจำ"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000053493
------------------

ศึกษาศาสตร์ มศว เผยงานวิจัยระดับชาติ
เหตุความล้มเหลวการรู้หนังสือ - ภาษาที่สองใช้ได้กับเด็กปกติ -
เด็กพิการและผู้ใหญ่ที่ไม่รุ้หนังสือนำไปใช้ทดลองใน10 ประเทศทั่วโลก
ขณะนี้ญี่ปุ่นสนใจงานวิจัยสนับสนุนคนในชาติเรียนรู้ภาษาที่สอง

รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ อาจารย์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว )
เปิดเผยถึงงานวิจัยในโครงการประภาคารการรู้หนังสือด้วยแนวทฤษฎี
การสอนแบบมุ่ง"ประสบการณ์ภาษา หรือ ( Lighthouse Literacy Project
Through Concentrated Language Encounter Instruction)
ซึ่งเป็นความร่วมมือของมศว องค์กรโรตารีสากลและกระทรวงศึกษาธิการ
(ศธ.)ว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นกระบวนการเรียนการสอนด้านภาษาเพื่อมุ่งเน้นการ
รู้หนังสือให้กับคนไทยและคนต่างประเทศกว่า 10 ประเทศ อันได้แก่ ลาว
มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ เนปาล อินเดีย
แอฟริกาใต้ บราซิล ตุรกี อียิปต์ มุ่งเน้นไปในกลุ่มผู้เรียนหลายวัย
ตั้งแต่เด็กนักเรียน นักศึกษา และผู้ใหญ่
ยังเรียนอยู่ในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา
นอกจากนี้ยังเป็นเด็กที่เรียนในระบบการศึกษาพิเศษ
ซึ่งมีความผิดปกติทางการได้ยินและการมองเห็น
ผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกายพิการแขนขา เด็กออทิสติก
ตลอดถึงเด็กเร่ร่อนขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นกำลังสนใจวิธีการรู้หนังสือแนวทฤษฎี
การสอนแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ภาษาอย่างมาก
แม้ประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีปัญหาทางการรู้หนังสือ แต่เขาต้องการเรียนรู้
ศึกษาวิธีการนี้เพื่อนำไปใช้กับการเรียนรู้ภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษให้กับ
ประชาชนญี่ปุ่น

"การเรียน
รู้หนังสือด้วยแนวทฤษฎีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาเป็นกระบวนการเรียนการ
สอนที่มุ่งเน้นธรรมชาติในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก
ใช้กิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้แบบธรรมชาติให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้ภาษา
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นภาษาแม่ หรือภาษาที่สอง ที่สาม
กระบวนการทางภาษาด้วยกระบวนการทางความคิดของตัวเอง
ใช้หลักการทางสมองเป็นหลัก
ควบคู่ไปกับศักยภาพส่วนตัวที่เรียกว่าพหุปัญญาและใช้จิตวิทยาหลายด้านเข้ามา
ร่วม สิ่งสำคัญเด็กได้ค้นคว้า ลงมือปฏิบัติทางภาษาด้วยตัวเอง
การสอนในลักษณะนี้ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่เมื่อได้เรียนรู้ด้วยวิธีการนี้จะ
สนุกและอยากเรียนรู้งานวิจัยที่เราดำเนินการนั้นได้มุ่งเน้นไปที่เด็กหรือ



ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ หรือรู้บ้าง
ตลอดถึงบางคนรู้ภาษาแม่แล้วและต้องการจะก้าวหน้าในภาษาที่สอง
การสอนให้เด็กหรือผู้ใหญ่คนหนึ่งรู้ภาษานั้น

เรา เน้นกิจกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก
อย่างเด็กเร่ร่อนหรือผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ
ตลอดถึงเด็กที่เรียนอยู่ในโรงเรียน
กิจกรรมที่ใช้ได้ผลคือการฝึกอาชีพหรือวิชาชีพเป็นหลัก เข้ามาสอนภาษา
การสอนภาษาด้วยกิจกรรมที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน
ผู้เรียนจะได้ใช้ภาษาด้วยตัวของเขาเอง เขาจะได้คิด
การมุ่งเน้นให้คนรู้หนังสือด้วยวิธีการนี้ใช้เวลาไม่มากนัก
ถ้าเป็นภาษาแม่หรือภาษาประจำชาตินั้นๆ ใช้เวลาเพียงแค่ 3
เดือนและต้องเรียนรู้ภาษาผ่านกิจกรรม 5
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ถ้าเป็นภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาแม่ อาจจะเป็นภาษาที่สอง
ที่สามของบางคนต้องใช้เวลา 6 เดือนและต้องเรียน 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
แต่สำหรับบางคนที่มีการเพิ่มจำนวนชั่วโมงให้มากขึ้นก็จะใช้เวลาในการเรียน
สั้นลง"

รศ.ดร.เสาวลักษณ์ กล่าวอีกว่าแม้ว่ามศว
จะทำงานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จและได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ
หากแต่ในสังคมไทยยังไม่สนใจโดยเฉพาะรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการเอง (ศธ.)
ก็ไม่เอาจริงเอาจังเราจะเห็นว่าการรู้หนังสือของเด็กไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ส่วนภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษเด็กไทยก็ยังสือสารไม่รู้เรื่อง
เรียนในโรงเรียน 5- 6 ปีก็ยังใช้ไม่ได้
เพราะผู้เรียนไม่ได้เรียนและนำไปใช้จริงอย่างที่เขาอยากจะใช้

" ทุกวันนี้การเรียนภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สองไม่ได้ผลเพราะ
ผู้เรียนถูกตีกรอบให้เรียนมากเกินไป ถูกบังคับให้เรียนในเรื่องต่างๆ
ผู้เรียนไม่ได้อยากเรียนในหัวข้อที่ถูกกำหนดให้เรียน เขาจึงไม่สนใจ
การเรียนภาษาคือการสร้างงานหรือสร้างประสบการณ์ของตัวเองขึ้นมาให้ได้ทุกวัน
ไม่ใช่เรียนกันแต่ในตำรา เรียนแบบท่องจำ
เด็กหรือผู้เรียนจะเป็นผู้คิดเองว่าเขาจะใช้ภาษาเพื่ออะไร
แล้วเขาจะใช้ภาษาด้วยตัวเขาเอง โดยไม่จำเป็นต้องเรียนโดยการท่องจำ"

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

การสอนภาษาแบบธรรมชาติ

การสอนภาษาแบบธรรมชาติ



        การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

        การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น (ฉันทนา ภาคบงกช, ม.ป.ป. )
        จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้

        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน

        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว

        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้

การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน

        การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนความเชื่อหรือปรัชญาของผู้จัด จากหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่กล่าวไว้ว่าการสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวมนั้น แสดงให้เห็นว่าการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายลักษณะการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กไว้ สามารถสรุปได้ ดังนี้

        1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมีมุมที่เด่นชัด คือ มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน ส่วนมุมอื่นๆที่อาจจัดไว้ ได้แก่ มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก ฯลฯ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

        2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กๆสนใจที่จะอ่านและเขียนจากความเข้าใจและประสบการณ์ ทั้งนี้ จะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        เนื่องจากการสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งเป็นกรอบให้ครูในการตัดสินใจและออกแบบการสอน ดังนั้น เมื่อมีการนำการสอนภาษาแบบธรรมชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากการสอนแบบเดิม มีนักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ดังนี้

        1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าเสี่ยงที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับสิ่งที่เด็กอ่านและเขียน และตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก

        2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน ฯลฯ หรือในลักษณะที่ครูเป็นนักอ่านหรือนักเขียน เช่น การเขียนบันทึกถึงกัน การอ่านเพื่อความมุ่งหมายต่างๆตามโอกาส

        3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน

        4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ ครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กเพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป
บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ

        นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ ดังนี้

        1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนด้วยการอ่านและการเขียนอย่างมีความหมายจริงๆ

        2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการและใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง

        3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือมากขึ้น
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

        การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติสามารถสรุปได้ดังนี้

        1. การประเมินต้องเป็นไปตามธรรมชาติการรู้หนังสือของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กแล้วนำหัวข้อเหล่านี้มาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ (Indicators) ในการประเมิน ( Bolton and others, 1989; Sulzby, 1990; Morrow, 1990 )
        2. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไร (Blanche, 1996; Cutting, 1992; Mason and Stewart, 1990; Schlosser and Phillips, 1991 )

        3. การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่แท้จริง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม คือ การใช้พอร์ทโฟลิโอ (Portfolio) ซึ่งจะต้องมีทั้งการสังเกตแล้วบันทึกอย่างเป็นระบบ และการเก็บตัวอย่างงาน โดยครูจะต้องแปลผล (Interpret) ข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อให้ผลการประเมินมีความตรงและความเที่ยง (ประทีป จินงี่, 2538; Morrow, 1990; ; Teale, 1990 )

        ทั้งนี้ การประเมินที่ไม่สอดคล้องกับปรัชญา และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ คือ การประเมินโดยใช้แบบทดสอบ ( Blanche, 1996; Schlosser and Phillips, 1991; Stallman and Pearson, 1990 ) จากการที่สทอลแมนและเปียสัน ( Stallman and Pearson ) ได้นำแบบทดสอบความพร้อมด้านการอ่านที่ใช้ในอเมริกามาวิเคราะห์ พบว่า แบบทดสอบส่วนใหญ่จะมีรูปแบบของการเลือกตอบ และประเมินทักษะย่อยๆในการอ่าน เขาสรุปว่า แบบทดสอบเหล่านี้มีลักษณะคล้ายๆกัน คือ ผลจากการทดสอบไม่สามารถสะท้อนความคิดเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือได้
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

        ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็ก จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษามาเป็นการสอนภาษาแบบธรรมชาติ นักการศึกษาหลายท่านได้เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติสรุปได้ ดังนี้

        1. ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งครูควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ การที่โรงเรียนแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและแนวทางที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติจะทำให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรใจเย็นและมีความอดทนเพียงพอที่จะเฝ้ารอดูผลงานของเด็กซึ่งจะพัฒนาขึ้นทีละน้อย

        2. ผู้ปกครองอาจมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน เยี่ยมชมชั้นเรียน สังเกตการสอน ฯลฯ หรือให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียน เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็ก เป็นอาสาสมัครในการอ่านหนังสือให้เด็กฟังที่โรงเรียน ฯลฯ

        3. ผู้ปกครองสามารถช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้โดยการสนทนาและตอบคำถามของเด็กอย่างสม่ำเสมอ จัดหาหนังสือนิทานให้เด็ก อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำทุกวัน ส่งเสริมให้เด็กอ่านจากสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายโฆษณา กล่องสินค้า ป้ายประกาศ ฯลฯ จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียนทุกวัน ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กอ่านหรือเขียนเพื่อเป็นกำลังใจแก่เด็กและเพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน พยายามไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิสิ่งที่เด็กเขียนเพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจว่าตนเองมีความสามารถในการอ่านและเขียน และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา
เขียนโดย นฤมล เนียมหอม          //www.nareumon.com  

ทฤษฏีการสอน

ทฤษฏีการสอน


(Teaching / Instructional Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรรณา อธิบาย ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฎษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการการเรียนการสอนให้เป็นไปตากจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักจะประกอบด้วยหลักการสอนย่อย ๆ หลายหลักการ ตามนักทฤษฎีได้ยกตัวอย่างดังนี้ 1. ทฤษฎีการสอนของกาเย่ (Gagne) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการรู้ กล่าวถึงการเรียนรู้ของบุคคลว่าจะเกิดขึ้นได้ดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกผู้เรียน (Internal and External Conditions) และเหตุการณ์ในการเรียน (Events of Learning) จัดเป็นลำดับสภาพการณ์ในการเรียนรู้เป็น 9 ขั้น คือ 1.1 การเร้าความสนใจ 1.2 แจ้งจุดมุ่งหมายแก่ผู้เรียน 1.3 สร้างสถานการณ์เพื่อดึงความรู้เดิม 1.4 เสนอบทเรียน 1.5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ 1.6 ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ 1.7 การให้ข้อมูลย้อนกลับ 1.8 การจัดการปฏิบัติ 1.9 ย้ำให้เกิดความจำและการถ่ายโอนความรู้
2. ทฤษฎีการสอนของเมอร์ริลไรเกลท (Merrill - Reigelath) แสดงทัศนะว่าการสอนเป็นกระบวนการที่เสนอเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและต่อเนื่อง ดังนี้ 2.1 เลือกหัวข้อปฏิบัติทั้งหลายที่จะสอนด้วยการวิเคราะห์ภารกิจ 2.2 ตัดสินใจว่าจะสอนข้อภารกิจใดเป็นอันดับแรก 2.3 จัดลำดับก่อนหลังของข้อภารกิจที่เหลือ 2.4 ชี้บ่งเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ 2.5 จัดเนื้อหาเข้าบทเรียนและจัดลำดับบทเรียน 2.6 จัดลำดับการสอนภายในบทเรียนต่าง ๆ 2.7 ออกแบบการสอนในแต่ละบทเรียน
3. ทฤษฎีการสอนของเคส (Case) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
4. ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa) เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งผู้สอนมักนำทฤษฎีการสอนทั้ง 4 ประการมาประยุกต์ใช้ในการสอนของตน การจะเลือกใช้ทฤษฎีการสอนใดนั้นควรขึ้นกับจุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์การสอนและเนื้อหาการสอนแต่ละครั้งอาจใช้ทฤษฎีการสอนหลายประการผสมผสานกันก็ได้ และจากทฤษฎีการสอนนี้ครูอาจารย์ ผู้สอน วิทยากรที่มีหน้าที่สอน
ที่มาhttp://www.seal2thai.org/sara/sara014.htm

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : Association of South East Asian Nations

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน[2] ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ[3] คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ[1]
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[4] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น[5] เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[6]

อ้างอิง
  1. ^ 1.0 1.1 Aseansec.org, ASEAN-10: Meeting the Challenges, by Termsak Chalermpalanupap, Aseansec.org, ASEAN Secretariat official website. Retrieved 27 June 2008.
  2. ^ Selected basic ASEAN indicators. สืบค้น 05-09-2010
  3. ^ EC.Europa.eu, European Union Relations with ASEAN. Retrieved 29 October 2010.
  4. ^ Overview, ASEAN Secretariat official website. Retrieved 12 June 2006
  5. ^ 'Momentous' day for ASEAN as charter comes into force. AFP. สืบค้น 05-09-2010
  6. ^ เคาต์ดาวน์สู่ ประชาคมอาเซียน. (8 สิงหาคม 2553). โพสต์ทูเดย์. สืบค้น 05-09-2010.