บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีการสอน

ทฤษฏีการสอน


(Teaching / Instructional Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรรณา อธิบาย ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฎษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการการเรียนการสอนให้เป็นไปตากจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักจะประกอบด้วยหลักการสอนย่อย ๆ หลายหลักการ ตามนักทฤษฎีได้ยกตัวอย่างดังนี้ 1. ทฤษฎีการสอนของกาเย่ (Gagne) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการรู้ กล่าวถึงการเรียนรู้ของบุคคลว่าจะเกิดขึ้นได้ดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกผู้เรียน (Internal and External Conditions) และเหตุการณ์ในการเรียน (Events of Learning) จัดเป็นลำดับสภาพการณ์ในการเรียนรู้เป็น 9 ขั้น คือ 1.1 การเร้าความสนใจ 1.2 แจ้งจุดมุ่งหมายแก่ผู้เรียน 1.3 สร้างสถานการณ์เพื่อดึงความรู้เดิม 1.4 เสนอบทเรียน 1.5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ 1.6 ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ 1.7 การให้ข้อมูลย้อนกลับ 1.8 การจัดการปฏิบัติ 1.9 ย้ำให้เกิดความจำและการถ่ายโอนความรู้
2. ทฤษฎีการสอนของเมอร์ริลไรเกลท (Merrill - Reigelath) แสดงทัศนะว่าการสอนเป็นกระบวนการที่เสนอเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและต่อเนื่อง ดังนี้ 2.1 เลือกหัวข้อปฏิบัติทั้งหลายที่จะสอนด้วยการวิเคราะห์ภารกิจ 2.2 ตัดสินใจว่าจะสอนข้อภารกิจใดเป็นอันดับแรก 2.3 จัดลำดับก่อนหลังของข้อภารกิจที่เหลือ 2.4 ชี้บ่งเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ 2.5 จัดเนื้อหาเข้าบทเรียนและจัดลำดับบทเรียน 2.6 จัดลำดับการสอนภายในบทเรียนต่าง ๆ 2.7 ออกแบบการสอนในแต่ละบทเรียน
3. ทฤษฎีการสอนของเคส (Case) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
4. ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa) เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งผู้สอนมักนำทฤษฎีการสอนทั้ง 4 ประการมาประยุกต์ใช้ในการสอนของตน การจะเลือกใช้ทฤษฎีการสอนใดนั้นควรขึ้นกับจุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์การสอนและเนื้อหาการสอนแต่ละครั้งอาจใช้ทฤษฎีการสอนหลายประการผสมผสานกันก็ได้ และจากทฤษฎีการสอนนี้ครูอาจารย์ ผู้สอน วิทยากรที่มีหน้าที่สอน
ที่มาhttp://www.seal2thai.org/sara/sara014.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น