บทความที่ได้รับความนิยม المقالة المشهورة

ทฤษฏีการพัฒนาหลักสูตร

ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์

ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แนวคิดในการพัฒนานั้นเริ่มต้นจากคำถามพื้นฐาน ๔ คำถามดังต่อไปนี้
1. จุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่สถานศึกษาต้องการ
2. ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3. ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นจะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4. จะประเมินได้อย่างไรว่าประสบการณ์การศึกษาที่จัดให้นั้นได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด
โดยมีรูปแบบการพัฒนามี 3 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
2. การเลือกประสบการณ์การเรียน : จัดลำดับ ก่อน-หลัง
3. การประเมินผล
การพัฒนาหลักสูตรนั้น จะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพของสังคม พัฒนาการของผู้เรียน ความเหมาะสม มีการบูรณาการของประสบการต่างๆ มีการประเมินผลในขั้นสุดท้าย การพัฒนาจะต้องมีระบบและต้องอาศัยการพัฒนาอย่างจริงจัง

กระบวนการสำหรับการจัดทำหลักสูตร
มีผู้เสนอแนวความคิดไว้หลายคน สำหรับในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะแนวความคิดที่เห็นว่าเป็นต้นแบบเท่านั้นได้แก่
1) กระบวนการจัดทำหลักสูตรของไทเลอร์ (Ralph W. Tayler) โดยการศึกษาข้อมูลจาก 3 แหล่งคือ สังคม ผู้เรียน และผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา ซึ่งไทเลอร์จะใช้ความรู้จากปรัชญาและทฤษฎีการเรียนรู้ในการตัดทอนจุดมุ่งหมายที่สำคัญน้อยหรือไม่จำเป็นออกไป ซึ่งก็มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลาย เช่น กระบวนการจัดทำหลักสูตรที่เสนอโดยนิคอลส์และนิคอลส์ (Nicholls and Nicholls,1972)
หรือวิธีการจัดทำหลักสูตรของทาบา (Taba, 1962) เป็นต้น
2) กระบวนการจัดทำหลักสูตรของทาบา (Hilda Taba) ได้เสนอรูปแบบสำหรับการออกแบบหลักสูตรไว้เป็น 4 ส่วนคือ กำหนดจุดประสงค์ เลือกประสบการณ์ จัดหลักสูตร และเรียงลำดับเนื้อหาให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนโดยแท้จริงแล้วกระบวนการจัดทำหลักสูตรของทาบานี้ก็ได้นำมาจากแนวความคิดเดิมของไทเลอร์ ซึ่งทาบาได้ทำการปรับขยายแนวความคิดของเฮริกและไทเลอร์ (Virgil E. Herick and Ralph W. Tayler) ให้ละเอียดยิ่งขึ้นนั่นเอง
3) กระบวนการจัดทำหลักสูตรในทัศนะของฟ็อกซ์ (Robert S. Fox) ได้เสนอแหล่งข้อมูลสำหรับการพัฒนาหลักสูตร เช่น ค่านิยมต่างๆ ในสังคมและจุดประสงค์ของหลักสูตรก็จะช่วยให้เราคัดเลือกสิ่งที่เรามีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
4) กระบวนการจัดทำหลักสูตรในทัศนะของแฮนนา พ็อตเตอร์ และแฮกกาแมน (Lavone A. Honna, Gladys L. Potter Neva Hagaman) ได้กล่าวถึงหลักสูตรที่จะสามารถผลิตคนออกไปอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดีนั้นจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งต่อไปนี้คือ 1) ความต้องการของสังคมที่ผู้เรียนได้อาศัยอยู่ 2) ความต้องการ จำเป็น ความสนใจ วุฒิภาวะ เป้าหมาย และ ความสามารถของผู้เรียน และ 3) มรดกและค่านิยมซึ่งทางสังคมต้องการให้สืบทอดต่อไป
5) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์, อเล็กซานเดอร์ และลีวิส (J. Galen Saylor , William M. Alexander and Arthur J. Lewis) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการจัดทำหลักสูตรว่า หลังจากได้เป้าหมายและจุดประสงค์แล้ว ก็จะดำเนินการจัดทำหลักสูตร ในการใช้หลักสูตรในชั้นนี้ จะเป็นการประเมินผลความก้าวหน้าของนักเรียนซึ่งดำเนินการโดยครู และประเมินหลักสูตรซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มผู้รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการปรับปรุงหลักสูตรในโอกาสต่อไป
สรุป
ทฤษฏีการวางแผนหลักสูตรควรคำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้ และธรรมชาติของผู้เรียน นั่นคือครูและนักวางแผนหลักสูตร ต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนแต่ละคนว่าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไรบ้างความรู้ที่บรรจุลงในหลักสูตรต้องเป็นไปตามทฤษฏีการเรียนรู้และการกำหนดบรรทัดฐานการเรียนรู้มีส่วนช่วยในการกำหนดกรอบของหลักสูตร
อ้างอิง
สงัด อุทรานันท์. ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : เซ็นเตอร์ปับลิเคชั่น, 2530.
การพัฒนาหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศ.ดร.บรรพต สุวรรณประเสริฐ สำนักพิมพ์ The knowledge Center
:http://members.thai.net/thaitap/ac